• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • HOME
  • About Us
    • Company Profile
    • Vision / Mission / Value / Duty
    • Organization Structure
    • Contact US
    • Sitemap
  • Policy and Plan
    • Government Policy Statement
    • Thai Integrated Energy Blueprint TIEB
      • Thailand Power Development Plan
      • Thailand Energy Efficiency Development Plan
      • Alternative Energy Development Plan
      • Oil Plan
  • Related Laws
    • Acts / Royal ordinance
  • Energy Information Services
    • Energy Situation
      • Energy Situation in year 2015 and trend in year 2016
      • The energy situation in the first tenth months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first nine months of 2015 and outlook for 2015
      • The energy situation in the first eight months of 2015 and outlook for 2015
    • Xayaburi Hydroelectric Power Project
    • Thailand – Myanmar’s Energy Cooperation Projects
    • Electricity Trade between Thailand and Malaysia.
    • Power Purchased from Laos PDR.
    • Economic and Power Trading in the Greater Mekong Sub-region
    • Thailand energy report 2015
  • Energy Statistics
    • Summary Statistic
    • Petroleum Statistic
    • NGV Statistic
    • Coal and Lignite Statistic
    • Electricity Statistic
    • Energy Economy Statistic
    • Value Energy Statistic
    • Petroleum Price Statistic
    • CO2 Statistic
    • Indicators Statistic
Friday, 21 January 2022 11:39

แผนขับเคลื่อนสมาร์ทกริด

แผนขับเคลื่อนสมาร์ทกริด

“แผนขับเคลื่อนสมาร์ทกริด” ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าไทย

             การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยมาสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) ย่อมมานำซึ่งการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รวมถึงในภาคพลังงานด้วย มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ถ่านหิน หรือ ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเข้ามาบูรณาการใช้ให้เกิดการบริหารจัดการและการใช้พลังงานเหล่านั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งภายใต้กรอบดังกล่าว ส่งผลให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคตจะมีความซับซ้อนทั้งทางด้านกลไก และการดำเนินการกว่าเดิมมากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ภาคพลังงานจะต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลในการควบคุม กำกับ และดูแลระบบ เพื่อให้เกิดการสอดรับกับปัจจัยต่างๆ ทั้งทางด้านเสถียรภาพ ความน่าเชื่อถือและความเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า

             ในปี 2564 แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ในระยะสั้น พ.ศ. 2560-2564 ได้สิ้นสุดลง สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้จัดทำแผนการ ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการจัดการทรัพยากรในระบบจำหน่ายไฟฟ้า ที่จำเป็น รองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งการเตรียมความพร้อมต่าง ๆ และนำร่องการจัดการแหล่งพลังงาน แบบกระจายศูนย์ (Distributed energy resources; DER) ในรูปแบบเชิงพาณิชย์ รองรับการเปลี่ยนผ่าน เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เริ่มส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบไฟฟ้า เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม

             แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลางฉบับนี้ มีการกำหนดเป้าหมายสำคัญในระยะมากกว่า 10 ปี ซึ่งจะเป็นแผนขับเคลื่อนด้านสมาร์ทกริด ตามกรอบแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579 โดยจะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการจัดการทรัพยากรในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่จำเป็นรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งไปสู่พลังงานสะอาด และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ที่ส่งผลให้ต้องมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนให้ได้ตามเป้าหมายแผนพลังงานชาติ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาสมดุลไฟฟ้าประเทศ บริหารความต้องการช่วงไฟฟ้าพีคให้มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 5 เสาหลัก และแผนอำนวยการสนับสนุน ประกอบด้วย

>

                       1. การตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน (DR & EMS)

                       2. การพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast) :

                       3. ระบบไมโครกริดตและโปรซูเมอร์ (Microgrid & Prosumer)

                       4. ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS)

                       5. การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration)

             สำหรับประโยชน์ของการจัดทำแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง ในมิติของความสมดุลด้านพลังงาน Energy Trilemma) มีความสอดคล้องกับหลักการเสริมสร้างความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ของประเทศ 3 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคง ด้านความมั่งคั่ง และด้านความยั่งยืน ดังนี้

                       ด้านความมั่นคง : เกิดความมั่นคงทางพลังงานจากการผลิตและใช้พลังงานภายในประเทศ และการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานแบบกระจายศูนย์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับ ระบบไฟฟ้า

                       ด้านความมั่งคั่ง : ต้นทุนค่าไฟฟ้าโดยรวมของประเทศลดลง การหลีกเลี่ยงการลงทุน ที่ไม่จำเป็น ภาคผู้ใช้ไฟฟ้ามีโอกาสลดต้นทุนค่าไฟฟ้าของตนเองและเกิดการสร้างรายได้ รวมถึงการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านการส่งออกและการลงทุนต่าง ๆ ในประเทศ

                       ด้านความยั่งยืน : สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนในปริมาณสูง และสนับสนุนการลด การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด

             ดังนั้น การจัดทำแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและลงทุนระบบไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (DERS) ประเภทต่างๆ ที่จะเติบโตตามแนวโน้มของโลก ร่วมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งไปสู่พลังงานสะอาดและลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065-2070 ตามกรอบแผนพลังงานชาติได้อย่างแน่นอน

 

news 210165 01

 

*************************** 

Read 5182 times
Tweet
back to top
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์