• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ติดต่อเรา
    • ผังเว็บไซต์
    • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
      • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
      • การบริหารงานด้าน ICT
      • ข่าวสารจากซีไอโอ
      • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)
      • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
      • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
      • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
      • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
    • การติดตามและประเมินผล
      • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
      • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
      • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
      • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
      • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • การดำเนินงานตามมติ กพช.
    • ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • สหประชาชาติ
        • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
        • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • Joint Implementation (JI)
          • Emission Trading (ET)
          • Clean Development Mechanism (CDM)
          • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan
          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
        • Concun Agreement
      • ประเทศไทย
        • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
        • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
        • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
        • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
        • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
        • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
      • กระทรวงพลังงาน
        • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
        • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
        • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
        • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)
      • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
      • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้
      • เอกสารเผยแพร่
      • หนังสือ
      • สาระน่ารู้
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การพัฒนาระบบบริหาร
      • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
      • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
      • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
      • การควบคุมภายใน
      • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
      • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
      • แผนปฏิรูปองค์การ
      • ITA
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • แผนบริหารความต่อเนื่อง
    • แผนแม่บท ICT สนพ.
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง
      • งบประมาณ
      • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
Subscribe to this RSS feed
Super User

Super User

วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:58

Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs

          Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs เป็นแนวคิดหนึ่งของการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกใหม่หลังหมดพันธกรณีแรก (วาระแรก) ของพิธีสารเกียวโต โดยจะเน้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะอาศัยหลักการเดิม คือ ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วจะรับผิดชอบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน แต่ด้วยความรับผิดชอบที่แตกต่างกันตามศักยภาพ รวมทั้งการดำเนินการในมาตรการ NAMAs จะต้องเป็นไปโดยสมัครใจผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้ว ในปัจจุบัน แนวคิด NAMAs นี้ยังถือว่าอยู่ในระหว่างการตกลงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอยู่ และยังไม่มีแนวทางที่เป็นมติเอกฉันท์ใดๆ โดยสามารถสรุปรายละเอียดหลักตามการเจรจาล่าสุดของ AWG-LCA 13 ดังแสดงใน (Draft decision -/CP16) ดังนี้ตกลงว่า (agree) ประเทศกำลังพัฒนาจะดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก (NAMAs) ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้บรรลุการลดก๊าซเรือนกระจกลงจากการปล่อยตามปกติ ภายในปี ค.ศ. 2020รับทราบ (take note) ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะดำเนินการโดยประเทศกำลังพัฒนา ตามที่ได้สื่อสาร และระบุในเอกสาร FCCC/AWGLCA/2010/INF.Yเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 4 วรรค 3 ของอนุสัญญาฯ ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี และเสริมศักยภาพต่อประเทศกำลังพัฒนา สำหรับการเตรียมการและดำเนินการ NAMAs รวมทั้งยกระดับด้านการรายงานผลให้จัดตั้งระบบลงทะเบียน (Registry) เพื่อบันทึกกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกที่ต้องการขอรับการสนับสนุนระหว่างประเทศ และช่วยจัดคู่การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมศักยภาพ ต่อกจิกรรมลดก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว และให้สำนักเลขาธิการฯเป็นผู้บันทึกข้อมูลกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและการสนับสนุน ลงในส่วนของการลงทะเบียนต่อไปเรียกร้อง (Request) ให้เลขาธิการฯ ทำการบันทึกและปรับปรุงข้อมูลที่ได้จากประเทศสมาชิกในระบบลงทะเบียน ดังนี้

          NAMAs ที่กำลังหาการสนับสนุนการสนับสนุนจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีให้แก่การดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการสนับสนุนที่มีให้แก่ NAMAs กรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ (Internationally supported mitigation actions) ให้มีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV domestically) และควรจะต้องมีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบตามแนวทางระหว่างประเทศที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ กรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศ (Domestically supported mitigation actions) ให้มีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV Domestically) ตามแนวทางที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ ให้จัดตั้ง Work Program เพื่อพัฒนา Modalities and Guidelines ต่างๆ ได้แก่การช่วยเหลือด้านการสนับสนุนต่อ NAMAs ผ่านระบบ Registry MRV ของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน และการสนับสนุนที่ให้รายงานราย 2 ปี ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานแห่งชาติของประเทศกำลังพัฒนา Domestic Verification ของ Domestic NAMAs กระบวนการ International Consultation and Analysis เนื่องจากคำว่า NAMAs เป็นคำที่ถกเถียงกันมากในแง่ของความหมายและการใช้เพื่อแสดงความหมายในเวทีเจรจาโลก ที่ปรึกษาจะขออ้างอิงความหมายและการจำแนกประเภทของ NAMAs ทั้งจากการทบทวนเอกสารของ UNFCCC และตามการศึกษาของ Zhakata (2009) และ สกว. (พ.ศ. 2553) ที่ได้จัดแบ่ง NAMAs ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

          1. Domestically supported mitigation actions หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศ
          2. Internationally supported mitigation actions หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ
          3. NAMA Crediting Mechanism หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศสามารถนำเอาคาร์บอนเครดิตที่ได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          จากการทบทวนมาตรการ NAMAs ตามเอกสารเจรจาที่มีอยู่ในการประชุมล่าสุด พบว่า ถึงแม้ว่าแนวทางการดำเนินการของ NAMAs ยังไม่ชัดเจน เนื่องจาก ยังไม่มีการตกลงกันอย่างแน่ชัดในที่ประชุมของ AWG-LCA โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับแนวทาง Crediting Mechanism แต่มาตรการนี้ก็อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงอย่างจริงจังเพื่อให้เป็นมาตรการที่สามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขของ Domestically supported mitigation actions และ Internationally supported mitigation actions เพื่อให้ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันทั้งเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการได้รับการสนับสนุนการพัฒนาทางเทคโนโลยีควบคู่กันต่อไปในอนาคต

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:57

AWG-LCA

        ภายหลังปี ค.ศ. 2012 ที่พิธีสารเกียวโตสิ้นสุดพันธกรณีแรก ประเทศไทยอาจจะถูกจัดกลุ่มใหม่ หรืออาจได้รับข้อกำหนดเพื่อรับผิดชอบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น โดยนโยบายว่าด้วยความร่วมมือระยะยาวภายใต้อนุสัญญาฯ ภายหลังปี ค.ศ. 2012 ที่มีแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบกับภาคพลังงานของประเทศไทย

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด 

Published in Bali Action Plan
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:57

Bali Action Plan

          COP 13(3-15 December, 2008) การประชุมครั้งที่ 13 หรือ COP 13 ถูกจัดขึ้นในวันที่ 3-15 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยในการประชุมครั้งนี้ประเทศภาคีสมาชิกได้ร่วมกันร่าง Bali Road Map ซึ่งเป็นมติให้จัดทำกระบวนการที่จะเร่งรัดให้สามารถดำเนินการภายใต้อนุสัญญาฯ อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของ common but differentiated responsibilities and respective capabilities และเรียกร้องให้แต่ละประเทศกำลังพัฒนามีการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการที่เหมาะสม (National Appropriate Mitigation Actions - NAMAs) และสมัครใจ โดยกิจกรรมเหล่านั้นจะต้องสนับสนุนต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ รวมถึงส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี  ส่งเสริมศักยภาพของคนในประเทศ และ สามารถตรวจวัด รายงาน และตรวจสอบได้

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:56

Clean Development Mechanism (CDM)

          ตามมาตราที่ 12 ของพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า CDM ขึ้น ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยประเทศในภาคผนวกที่ I ของอนุสัญญาฯในการบรรลุถึงเป้าหมายการกำจัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณีของต้น และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศนอกภาคผนวกที่ I โดยมีรายละเอียดโดยคร่าว ดังต่อไปนี้

          CDM มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือภาคีที่ไม่รวมอยู่ในภาคผนวกที่ I ให้สามารถบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) และให้มีส่วนสนับสนุนวัตถุประสงค์สูงสุดของอนุสัญญาฯและเพื่อช่วยเหลือประเทศภาคีในกลุ่มภาคผนวกที่ I ให้สามารถปฏิบัติพันธกรณีเกี่ยวกับการจำกัดและการลดการปล่อยตามปริมาณที่กำหนด ได้อย่างสอดคล้องภายใต้ CDM ภาคีที่ไม่รวมอยู่ในภาคผนวกที่ I จะได้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรมโครงการ (project activities) อันเป็นผลจากการลดการปล่อยก๊าซที่ได้ผ่านการรับรองแล้ว (certified emission reductions) ภาคีที่มีชื่อรวมอยู่ในภาคผนวกที่ I อาจนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรองแล้วที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมโครงการดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับส่วนหนึ่งของพันธกรณีในการจำกัดและการลดการปล่อยตามปริมาณที่กำหนด ภายใต้มาตราที่ 3 ตามการพิจารณาของที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ได้รูปแบบและแนวปฏิบัติของ CDM จะถูกกำหนดโดยมติที่ประชุมรัฐภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ และโดยให้คณะกรรมการบริหาร (Executive Board) ของ CDM เป็นผู้กำกับดูแลการลดการปล่อยก๊าซที่เป็นผลจากการดำเนินกิจกรรมของแต่ละโครงการต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานปฏิบัติงาน (Designated Operational Entities) ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ ได้มอบหมายบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมโดยสมัครใจ ตามที่แต่ละภาคีที่เกี่ยวข้องเห็นชอบผลประโยชน์ในระยะยาวที่แท้จริงและที่สามารถวัดได้ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโครงการลดการปล่อยก๊าซที่จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดการสนับสนุนภายใต้กลไก CDM

          CDM ต้องช่วยหลือในการจัดหาเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านการรับรองแล้วตามความจำเป็นในการประชุมสมัยแรกของประเทศภาคีตามพิธีสารนี้ ต้องจัดทำรูปแบบและวิธีการปฏิบัติงานอย่างละเอียดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิด ความโปร่งใส (transparency) ประสิทธิภาพ (efficiency) และความรับผิดชอบ (accountability) โดยให้มีการตรวจสอบอย่างอิสระ (independent audition) และการตรวจทานความถูกต้อง (verification) ของกิจกรรมโครงการที่ประชุมภาคีตามพิธีสารนี้ ต้องทำให้แน่ใจว่าเงินส่วนแบ่ง (share) ที่ได้มาจากการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านการรับรองแล้ว ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางด้านบริหาร และนำไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่จะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (costs of adaptation)การเข้าไปมีส่วนร่วมภายใต้กลไก CDM รวมถึงกิจกรรมที่กล่าวในข้อที่ 3 และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดหาเพื่อให้ได้มาซึ่งการลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรองแล้ว อาจเกี่ยวข้องกับองค์กรเอกชน และ/หรือองค์กรของรัฐ จะต้องขึ้นอยู่กับแนวปฏิบัติตามที่คณะกรรมการบริหารของ CDM จัดทำขึ้นการลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรองแล้ว ที่ได้มาในระหว่างปี ค.ศ. 2000 จนถึงจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาดำเนินการตามพันธกรณีช่วงแรก (ปี ค.ศ. 2008) สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในการบรรลุตามพันธกรณีในช่วงพันธกรณีแรกได้

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:53

Emission Trading (ET)

          กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) เป็นกลไกตามมาตรา 17 โดยประเทศในกลุ่มภาคผนวก B ของพิธีสาร สามารถซื้อหรือขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการจัดสรร ที่เรียกว่า Assigned Amount Unit (AAU) ด้วยกันเองได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกรณี ทั้งนี้ปริมาณ AAU ที่ซื้อต้องเป็นส่วนที่เสริมจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดจากการดำเนินการในประเทศ

ตารางแสดงประเทศในกลุ่มภาคผนวก B ภายใต้พิธีสารเกียวโต

ประเทศในกลุ่มภาคผนวกB
ออสเตรเลีย (Australia) กรีซ (Greece) โรมาเนีย (Romania)
ออสเตรีย (Austria) ฮังการี (Hungary) สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)
เบลเยียม (Belgium) ไอซ์แลนด์ (Iceland) สโลวาเกีย (Slovakia)
บัลแกเรีย (Bulgaria) ไอร์แลนด์ (Ireland) สโลวีเนีย (Slovenia)
แคนาดา (Canada) อิตาลี (Italy) สเปน (Spain)
โครเอเชีย (Croatia) ญี่ปุ่น (Japan) สวีเดน (Sweden)
สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) ลัตเวีย (Latvia) สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
เดนมาร์ก (Denmark) ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein) ยูเครน (Ukraine)
เอสโตเนีย (Estonia) ลิทัวเนีย (Lithuania) สหรัฐอเมริกา (United States of America)*
ประชาคมเศรษฐกิจแห่งยุโรป ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)
(European Community)
ฟินแลนด์ (Finland) โมนาโก (Monaco)
ฝรั่งเศส (France) เนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
เยอรมนี (Germany) นิวซีแลนด์ (New Zealand)
โปรตุเกส (Portugal) นอร์เวย์ (Norway)
โปแลนด์ (Poland)

ที่มา: UNFCCC website (www.ipcc.ch/pdf/glossary/tar-ipcc-terms-en.pdf)
หมายเหตุ  *  หมายถึง ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ที่ ไม่เข้าร่วมในพิธีสารเกียวโต

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

Published in พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:52

Joint Implementation (JI)

           กลไกการดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) เป็นกลไกตามมาตรา 6 ที่เปิดโอกาสให้ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ร่วมกันดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้โครงการจะต้องได้รับอนุมัติจากประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นการลดเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติด้วย โดยคาร์บอนเครดิตตามปริมาณก๊าซที่ลดได้ในกรณีนี้เรียกว่า Emission Reduction Unit (ERU) ทั้งนี้ปริมาณ ERU ที่จัดหาต้องเป็นส่วนที่เสริมจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดจากการดำเนินการในประเทศ

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด 

Published in พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันเสาร์, 20 กุมภาพันธ์ 2559 18:14

พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

      จากการที่มีการพิจารณารายงานแห่งชาติของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ในภาคผนวกที่ I เมื่อปี ค.ศ. 1995 ที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯได้ และปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณีก็ไม่เพียงพอทีจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของอนุสัญญาฯได้จึงได้มีการทบทวนพันธกรณีและกำหนดมาตรการที่ละเอียดและรัดกุมมากกว่าเดิม โดยตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการชื่อ Ad Hoc Group on Berlin Mandate (AGBM) ซึ่งก็ได้มีการประชุมต่อเนื่องโดยได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์สูงสุดของอนุสัญญาฯ คือ เพื่อให้บรรลุถึงการรักษาระดับความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ ในระดับที่ปลอดภัยจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และภายใต้หลักการโดยเฉพาะด้านความเสมอภาคและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน

      การประชุม COP 3 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการยกร่างพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1997 เพื่อจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญของพิธีสาร ดังนี้

      ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ให้มีการปฏิบัติและ/หรือเพิ่มเติมรายละเอียดในนโยบายและมาตรการตามสถานการณ์ของประเทศ อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน การปกป้องรักษาและการขยายแหล่งรองรับและที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยต้องกระทำอย่างสอดคล้องกับข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การฟื้นฟูป่าและการปลูกป่าการส่งเสริมรูปแบบการเกษตรที่ยั่งยืนโดยการคำนึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการศึกษาวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่รักษาสิ่งแวดล้อมลดหรือเลิกการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ จัดให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมนโยบายและมาตรการที่จำกัดหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้ควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออล การดำเนินมาตรการจำกัดและ/หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้ควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออลในสาขาการคมนาคมขนส่ง และจำกัดและหรือลดการปล่อยก๊าซมีเทนโดยวิธีการนำกลับมาใช้ใหม่ในการจัดการของเสีย การผลิต การคมนาคมขนส่ง และการกระจายพลังงานสามารถร่วมมือกับประเทศภาคีอื่นในการเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายและมาตรการของประเทศตนเองหรือร่วมกันประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ต้องจำกัดหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้ควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออลจากการคมนาคมขนส่งทางอากาศและที่ขนส่งทางทะเล โดยการประสานความร่วมมือกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และองค์การพาณิชย์นาวีระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO)ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I แต่ละประเทศหรือหลายประเทศร่วมกัน ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กำหนดไว้ภายใต้พิธีสาร ไม่เกินปริมาณที่ได้รับการจัดสรร โดยตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ให้ต่ำกว่าระดับที่ปล่อยในปี ค.ศ. 1990 อย่างน้อยร้อยละ 5  ภายในช่วงพันธกรณีแรก คือ ระหว่างปี ค.ศ. 2008-2012ให้ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I จัดทำรายงานบัญชีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์จากแหล่งต่างๆ และการกำจัดโดยแหล่งรองรับก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ไม่ได้ควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออลทุกปี และต้องจัดทำรายงานแห่งชาติตามข้อกำหนดภายใต้อนุสัญญาฯ โดยข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและวิธีการที่กำหนดโดยที่ประชุมอนุสัญญาฯ ประเทศภาคีสามารถเข้าร่วมในกลไกการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3 รูปแบบ คือ กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) กลไกการดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) โดยกลไกทั้ง 3 เป็นกลไกทางการตลาดเพื่อช่วยประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ในการบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณี ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

      กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) เป็นกลไกตามมาตรา 17 โดยประเทศในกลุ่มภาคผนวก B ของพิธีสาร สามารถซื้อหรือขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการจัดสรร ที่เรียกว่า Assigned Amount Unit (AAU) ด้วยกันเองได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกรณี ทั้งนี้ปริมาณ AAU ที่ซื้อต้องเป็นส่วนที่เสริมจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดจากการดำเนินการในประเทศ

ตารางแสดงประเทศในกลุ่มภาคผนวก B ภายใต้พิธีสารเกียวโต

ประเทศในกลุ่มภาคผนวก B
ออสเตรเลีย (Australia) กรีซ (Greece) โรมาเนีย (Romania)
ออสเตรีย (Austria) ฮังการี (Hungary) สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)
เบลเยียม (Belgium) ไอซ์แลนด์ (Iceland) สโลวาเกีย (Slovakia)
บัลแกเรีย (Bulgaria) ไอร์แลนด์ (Ireland) สโลวีเนีย (Slovenia)
แคนาดา (Canada) อิตาลี (Italy) สเปน (Spain)
โครเอเชีย (Croatia) ญี่ปุ่น (Japan) สวีเดน (Sweden)
สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) ลัตเวีย (Latvia) สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
เดนมาร์ก (Denmark) ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein) ยูเครน (Ukraine)
เอสโตเนีย (Estonia) ลิทัวเนีย (Lithuania) สหรัฐอเมริกา (United States of America)*
ประชาคมเศรษฐกิจแห่งยุโรป ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland)
(European Community)
ฟินแลนด์ (Finland) โมนาโก (Monaco)
ฝรั่งเศส (France) เนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
เยอรมนี (Germany) นิวซีแลนด์ (New Zealand)
โปรตุเกส (Portugal) นอร์เวย์ (Norway)
โปแลนด์ (Poland)

ที่มา: UNFCCC website (www.ipcc.ch/pdf/glossary/tar-ipcc-terms-en.pdf)

หมายเหตุ  *  หมายถึง ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ที่ ไม่ เข้าร่วมในพิธีสารเกียวโต

       กลไกการดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) เป็นกลไกตามมาตรา 6 ที่เปิดโอกาสให้ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ร่วมกันดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้โครงการจะต้องได้รับอนุมัติจากประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นการลดเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติด้วย โดยคาร์บอนเครดิตตามปริมาณก๊าซที่ลดได้ในกรณีนี้เรียกว่า Emission Reduction Unit (ERU) ทั้งนี้ปริมาณ ERU ที่จัดหาต้องเป็นส่วนที่เสริมจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดจากการดำเนินการในประเทศกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เป็นกลไกตามมาตรา 12 ซึ่งเป็นกลไกที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I และประเทศในกลุ่มนอกภาคผนวกที่ I โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I บรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และช่วยให้ประเทศในกลุ่มนอกภาคผนวกที่ I บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยผู้ดำเนินการโครงการจะได้รับ Certified Emission Reductions (CERs) สำหรับก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองแล้ว โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะต้องเป็นการเข้าร่วมโดยสมัครใจ สามารถเกิดประโยชน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศ และต้องเป็นการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติพิธีสารนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับจากวันที่ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ไม่น้อยกว่า 55 ประเทศ และมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I รวมกันอย่างน้อยร้อยละ 55 ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1990 ของประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ทั้งหมด ได้มอบสัตยาบันสาร สารยอมรับ สารเห็นชอบ หรือสารภาคยานุวัติของตนพิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 เมื่อสหพันธรัฐรัสเซียได้ลงนามให้สัตยาบัน ส่งผลให้ปริมาณรวมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี ค.ศ. 1990 คิดเป็นร้อยละ 61.6 ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมในพิธีสารเกียวโตรวมทั้งสิ้นกว่า 192 ประเทศสำหรับประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2002 และประเทศไทยไม่ได้อยู่ในกลุ่มภาคผนวกที่ I จึงไม่มีพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกในช่วงพันธกรณีแรก แต่ประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean development Mechanism: CDM) ตามที่นิยามไว้ในมาตราที่ 12 ของพิธีสารเกียวโตสำหรับประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแก่พิธีสารเกียวโต

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

Published in พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันเสาร์, 20 กุมภาพันธ์ 2559 18:13

การประชุมของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการกำหนดความร่วมมือระยะยาว Ad-hoc Working Group on Long-term Cooperative Action: AWG-LCA

การประชุมของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการกำหนดความร่วมมือระยะยาว Ad-hoc Working Group on Long-term Cooperative Action: AWG-LCA
Published in การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันเสาร์, 20 กุมภาพันธ์ 2559 18:12

คณะทำงานเฉพาะกิจด้านการกำหนดพันธกรณีถัดไปในการลดก๊าซเรือนกระจก Ad-hoc Working Group on Further Commitments for Annex I Parties under the Kyoto Protocol: AWG-KP

คณะทำงานเฉพาะกิจด้านการกำหนดพันธกรณีถัดไปในการลดก๊าซเรือนกระจก Ad-hoc Working Group on Further Commitments for Annex I Parties under the Kyoto Protocol: AWG-KP
Published in การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันศุกร์, 11 มีนาคม 2559 18:11

COP21

COP21

สรุปสาระสำคัญจากการประชุม COP 21  วันที่ 30 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม 2558กรุงปารีส

Published in การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
เริ่มต้นก่อนหน้า1099110011011102110311041105110611071108ต่อไปสุดท้าย
หน้าที่ 1104 จาก 1111
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์