• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ติดต่อเรา
    • ผังเว็บไซต์
    • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
      • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
      • การบริหารงานด้าน ICT
      • ข่าวสารจากซีไอโอ
      • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)
      • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
      • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
      • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
      • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
    • การติดตามและประเมินผล
      • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
      • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
      • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
      • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
      • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • การดำเนินงานตามมติ กพช.
    • ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • สหประชาชาติ
        • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
        • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • Joint Implementation (JI)
          • Emission Trading (ET)
          • Clean Development Mechanism (CDM)
          • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan
          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
        • Concun Agreement
      • ประเทศไทย
        • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
        • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
        • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
        • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
        • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
        • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
      • กระทรวงพลังงาน
        • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
        • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
        • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
        • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)
      • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
      • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้
      • เอกสารเผยแพร่
      • หนังสือ
      • สาระน่ารู้
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การพัฒนาระบบบริหาร
      • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
      • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
      • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
      • การควบคุมภายใน
      • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
      • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
      • แผนปฏิรูปองค์การ
      • ITA
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • แผนบริหารความต่อเนื่อง
    • แผนแม่บท ICT สนพ.
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง
      • งบประมาณ
      • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
Subscribe to this RSS feed
Super User

Super User

วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 11:00

แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)

EEP

Published in แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันพฤหัสบดี, 03 พฤษภาคม 2561 17:00

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 (PDP2018)

PDP2018 banner

Published in แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:25

คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน

คณะกรรมการประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน (CLIMAE CHANG OFFICE OF MINISTRY OF ENERGY: CCOME)

          จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอการแต่งตั้งผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Officer : CCO) ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2552 ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการจัดตั้งผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Officer : CCO) ตามข้อเสนอของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 
          1. ดร.ณอคุณ  สิทธิพงศ์  รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็น หัวหน้า CCO (ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2553) และปัจจุบันคือ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน
          2. นางอารีรัตน์  อยู่หุ่น นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ เป็น ผู้ช่วย CCO

โครงสร้างการบริหารคณะกรรมการประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน
(Climate Change Office of Ministry of Energy; CCOME)

 CCO

          สรุปอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงานประสานกับสำนักคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนคณะอนุกรรมการฯจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอดีตนับจาก พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) - อนาคต (พ.ศ. 2565) จัดทำเป้าหมาย/แผน/โครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปฏิบัติตามแผน และรายงานผลการดำเนินงาน

Published in คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:14

ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555

ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2556-2559

ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 9 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1  :  การสร้างแบบจำลองและการประเมินการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของภูมิอากาศ และสภาวะแวดล้อมในประเทศไทย

- Modeling and assessment of changing patterns of climate and environmental conditions in Thailand

ยุทธศาสตร์ที่ 2  :  การวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร

- Research into climate change and agriculture/food security

ยุทธศาสตร์ที่ 3  :  การวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลวัตรและความยืดหยุ่นของระบบนิเวศน์

- Research into climate change and ecosystems dynamics and resilience

ยุทธศาสตร์ที่ 4  :  การประเมินผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำและทางเลือกในการปรับปรุงระบบการจัดการน้ำ

- Assessment of the impacts of climate change on water resource and options for the improvement of water management systems.

ยุทธศาสตร์ที่ 5  :  การวิจัยและเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสุขภาพ

- Research into climate change and health

ยุทธศาสตร์ที่ 6  : การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการพัฒนาเมือง

- Research into import of climate change on urban development

ยุทธศาสตร์ที่ 7 :  การวิจัยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- Research into climate change adaptation

ยุทธศาสตร์ ที่ 8  :  การวิจัยทางเลือกในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมุ่งประเด็นที่ลักษณะและ การเปลี่ยนแปลงไปสู่เส้นทางการพัฒนาคาร์บอนต่ำของประเทศไทย

- Research into mitigation options of Thailand, focused in the transition to a characteristics of low carbon development pathways for Thailand

ยุทธศาสตร์ที่ 9  :  การวิจัยการจัดการองค์ความรู้ และสร้างความตระหนักที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- Research into knowledge management associated with climate change including public awareness, policy process analysis, climate in education, research capacity development

ที่มา : National Research Council of Thailand


ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555

ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2551-2555มีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการลดหรือบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อสร้างความพร้อมให้กับประเทศในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2.เพื่อร่วมกับประชาคมโลกในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยดำเนินการบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน และตามหลักการของความรับผิดชอบร่วมในระดับที่แตกต่างกัน

3.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการจากทุกภาคส่วนในกระบวนการวางแผนและการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศอย่างเป็นระบบ

ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2551-2555ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1การสร้างความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือและลดความล่อแหลมต่อผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2การสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซ บนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 3การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ยุทธศาสตร์ที่ 6การพัฒนาการดำเนินงานในกรอบความร่วมมือกับต่างประเทศ


ข้อมูล: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมhttp://www.onep.go.th/

Published in ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:13

แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

          จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญ ที่นานาประเทศได้เห็นพ้องที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจังโดยกำหนดเป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต เพื่อใช้เป็นเวทีในการสร้างความร่วมมือจากนานาชาติในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับมือต่อภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


          ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเข้าร่วมกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้ลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และต่อพิธีสารเกียวโตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะหน่วยประสานงานกลางแห่งชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Focal Point) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา

          และจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งระบุให้จัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนารองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นระบบในระยะยาว สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติขึ้นโดยครอบคลุมระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ.2553–2562)

          แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (พ.ศ.2553-2562) มีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความพร้อม และความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการลดหรือบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

Download:แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (พ.ศ.2553-2562)

ข้อมูล: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมhttp://www.onep.go.th/

Published in แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:12

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการดังกล่าวมีความเป็นเอกภาพและคล่องตัวในการดำเนินงาน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์การระหว่างประเทศ

          และได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 31 ก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 และได้มีการจัดตั้ง“องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) : อบก.”มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization :TGO)” ขึ้นภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรองและทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการและการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจกจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรองและการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก


มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) ของประเทศ ดังนี้
          1. ทำหน้าที่Designated National Authority of Clean Development Mechanism (DNA-CDM) officeของประเทศไทย ตามพันธกรณีพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ วิเคราะห์กลั่นกรอง โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism (CDM) และให้ความเห็นแก่คณะกรรมการบริหารองค์การก๊าซเรือนกระจก ว่าโครงการต่างๆที่ดำเนินงานในประเทศไทยควรจะได้รับความเห็นชอบ และออกหนังสือรับรองโครงการ (Letter of Approval: LoA)ให้กับผู้พัฒนาโครงการหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่อทางเทคนิควิชาการที่จะต้องกลั่นกรอง วิเคราะห์แต่ละโครงการว่าเป็นโครงการที่เป็นไปในหลักเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Criteria : SD Critenia) ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ และสังคมที่ประเทศไทยกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การลงทุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม แก่ชุมชน ท้องถิ่นที่โครงการตั้งอยู่
          2. มีบทบาทเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ ข้อมูล สถานการณ์ ที่เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศไทยและเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการการจัดการก๊าซเรือนกระจกตลอดจนศักยภาพการดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศว่าจะลดก๊าซเรือนกระจกในภาคใดบ้าง
          3. องค์การฯ จะมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาโครงการและการตลาดซื้อ-ขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit) ที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (โครงการ CDM) และการบริหารจัดการเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกรวมทั้ง การให้บริการข้อมูลที่ทันสมัยทั้งเรื่องสถานการณ์ สภาวะการตลาด Carbon Market และการเข้าถึงแหล่งทุน (Access to Fund) ที่จะมาลงทุนร่วมทั้งจากภายนอกประเทศและภายในประเทศ 
          4. องค์การฯจะต้องมีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 


Download:พระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้อมูล: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) : http://www.tgo.or.th

 

Published in องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:11

คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

           “คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ”จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2550 (ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2550)เพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญที่จะส่งผลให้การดำเนินงานได้บรรลุตามความมุ่งหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและในปี 2552 ได้มีการแก้ไขคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 (ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2552)“คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” ประกอบด้วย

          1. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
          2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ
          3. กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านพลังงาน หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคน

        และมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ”

มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
          1. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย การกักเก็บและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          2. กำหนดนโยบาย แนวทาง หลักเกณฑ์ และกลไกการดำเนินงานร่วมกับนานาชาติเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
          3. เสนอแนะการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายที่จำเป็นหรือเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยผูกพันและต้องปฏิบัติตามความตกลงที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาและพิธีสาร หรือการดำเนินการต่างๆ ที่ควรกระทำเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนหลักการและวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาหรือพิธีสาร ทั้งนี้ โดยให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
          4. กำหนดแนวทางและท่าทีในการเจรจาเกี่ยวกับอนุสัญญาและพิธีสารโดยต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
          5. กำกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางหลักเกณฑ์ และกลไกการดำเนินงาน ที่กำหนดตามระเบียบนี้
          6. พิจารณาและสนับสนุนให้มีการจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเหมาะสม
          7. กำหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
          8. พิจารณาเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
          9. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
          10. ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

          จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2552 โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสังคม  นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมด้วยที่ประชุมเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ดังนี้

          1. คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านวิชาการ และด้านการเจรจา มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน  คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเลขานุการ  เจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและแผนฯ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ  มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะข้อคิดเห็นทางวิชาการในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย รวมถึงเสนอแนะแนวทาง หลักเกณฑ์ กลไกการดำเนินงานร่วมกับนานาชาติ   และมาตรการที่จำเป็นหรือเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยผูกพันและต้องปฏิบัติตามความตกลงที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาและพิธีสาร   ตลอดจนแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือ ข้อมูลทางวิชาการ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

          2. คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการประสานท่าทีไทยในการเจรจา  มีอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานร่วม  ผู้แทนจากกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเลขานุการ  เจ้าหน้าที่กองกิจการเพื่อการพัฒนา กรมองค์การระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ช่วยเลขานุการ  มีอำนาจหน้าที่ ในการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของไทย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสัมคม เพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับประกอบการพิจารณากำหนดเป็นท่าทีไทยในการเจรจา ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต รวมทั้งกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งทวิภาคีและพหุภาคี  ตลอดจนเสนอข้อมูล ความเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายฯ  และจัดตั้งคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมและจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายนได้เห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Convention Officer : CCCO) โดยมีหลักการดังนี้

               1) จัดตั้ง CCCO ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 30 หน่วยงานประกอบด้วยหน่วยงานระดับกระทรวง 19 หน่วยงาน (ทุกกระทรวง) และหน่วยงานที่มิใช่กระทรวง 11 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรุงเทพมหานคร

               2) CCCO ของแต่ละหน่วยงานจะประกอบด้วย

                    2.1) หัวหน้า CCCO เป็นข้าราชการประจำ ในกรณีของกระทรวงได้แก่ รองปลัดกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมายในกรณีของหน่วยงานที่ไม่ใช่กระทรวง ได้แก่รองหัวหน้าหน่วยงานหรือที่ปรึกษาที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมาย

                    2.2) ผู้ช่วย CCCO อย่างน้อย 1 คนโดยในจำนวนนั้นต้องเป็นข้าราชการประจำผู้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปอย่างน้อย 1 คน ซึ่งต้องทำหน้าที่เต็มเวลาอนึ่ง มติที่ประชุมผู้ประสานงาน CCCO เมื่อ10 กุมภาพันธ์ 2553 ให้ผู้ช่วย CCCO เป็นพนักงานของหน่วยงานรัฐในสังกัดระดับเทียบเท่าเพิ่ม เติมด้วย

               3) การแต่งตั้ง CCCO ให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงในกรณีของกระทรวงหรือหัวหน้าหน่วยงานในกรณีไม่ใช่กระทรวงเป็นผู้เสนอชื่อให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ เนื่องจาก CCCO มีอำนาจหน้าที่และบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ

               4) ให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงในกรณีของกระทรวงหรือหัวหน้าหน่วยงานในกรณีไม่ใช่กระทรวงเป็นผู้พิจารณากำหนดตามความเหมาะสม

               5) อำนาจ หน้าที่ และบทบาทของ CCCO
                    5.1) ประสาน งานเกี่ยวกับการเสนอเรื่องและการเสนอความเห็นของหน่วยงานต่างๆต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

                    5.2) ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
                    5.3) ประสานงานเกี่ยวกับวาระการประชุม และมติของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
                    5.4) ประสานงานและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
                    5.5) ประสานงาน ผลักดันและส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัดมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
                    5.6) ประสานงานเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ในภารกิจของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

ข้อมูล: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมhttp://www.onep.go.th/รัฐบาลไทยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

Published in คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:09

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2550

          ระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2550 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งองค์กรรองรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ให้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและสำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2550 (ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2550)เป็นกลไกสำคัญที่จะส่งผลให้การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้บรรลุตามความมุ่งหมาย และในปี 2552 ได้มีการแก้ไขคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552(ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2552)

ข้อมูล: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมhttp://www.onep.go.th/

 

Published in ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2550
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:08

Cancun Agreement

          COP 16 (29 November-10 December, 2010) การประชุมครั้งที่ 16 หรือ COP 16 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม ค.ศ.2010 ที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก โดยในการประชุมนี้ข้อตกลงแคนคูน (Cancun Agreement) เริ่มมีความชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลังปี ค.ศ. 2012 โดยมีรายละเอียดของการประชุม ดังต่อไปนี้

          กำหนดเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสกระตุ้นประเทศกำลังพัฒนาให้เข้าร่วมโครงการ NAMAs เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกจากระดับที่ปล่อยปกติภายในปี ค.ศ. 2020 โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการดำเนินการจากประเทศที่พัฒนาแล้วและ Green Environmental Fund การยกระดับการรายงานผลการลดและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทุกๆ 2 ปี พร้อมทั้งความรับผิดชอบในการจัดทำการ ตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบ (Measurable, Reportable and Verifiable: MRV) ที่เป็นมาตรฐานสากลกระตุ้นให้ประเทศกำลังพัฒนาได้จัดทำยุทธศาสตร์หรือแผนการพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low carbon society) ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ใช้ปี ค.ศ. 1990 เป็นปีฐาน สำหรับพันธกรณีช่วงที่ 2 ของพิธีสารเกียวโตขยายเวลาทำงานออกไปอีก 1 ปี เพื่อเจรจาให้ได้ agree outcome รวมถึงรายละเอียดของการดำเนินงานและเสนอผลต่อที่ประชุมใน COP-17

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

Published in Cancun Agreement
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:07

AWG-KP

AWG-KP

จากการทบทวน AWG-KP ครั้งล่าสุด และจากการศึกษาแนวโน้มการเจรจาที่อาจจะมีผลต่อการดำเนินงาน CDM ภายหลังปี ค.ศ. 2012 ได้มีการอภิปรายหาข้อตกลงร่วมกัน เช่น ความโปร่ใสและความเป็นกลางของ CDM EB แผนการให้เงินกู้เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการ CDM ในประเทศที่มีโครงการได้รับการขึ้นทะเบียนน้อยกว่า 10 โครงการ การพิจารณาโครงการ CCS เป็นโครงการ CDM และการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

  • การเรียกร้องให้ CDM EB ที่ผ่านมาปรับปรุงกฎระเบียบการพิสูจน์ Additionality ให้ง่ายขึ้นสำหรับโครงการขนาดเล็ก เช่น โครงการพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีกำลังการผลิตน้อยกว่า 5 MW และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานได้ไม่เกิน 20 GWh/yr และสำรวจทางเลือกอื่นๆ ในการพิสูจน์และประเมิน Additionallyการเห็นชอบให้ประเทศต่างๆ ผู้พัฒนาโครงการหรือองค์กรระหว่างประเทศโดยผ่านทาง DNA ของประเทศเจ้าบ้านสามารถยื่นข้อเสนอสำหรับการใช้ Standardized baselines กับ methodology แบบใหม่หรือที่ยังคงมีอยู่เพื่อให้ EB พิจารณาการมีมติเห็นชอบให้โครงการ CCS สามารถดำเนินเป็นโครงการ CDM ได้จากการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (พฤศจิกายน พ.ศ. 2553) ได้มีการสรุปการศึกษาจากมติการประชุมของ COP 15พบว่าแนวทางของมาตรการใหม่จากระบอบระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มที่จะมีผลต่อรูปแบบการดำเนินงานของ CDM จะเป็นไปในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า กลไกที่ยืดหยุ่น (Flexible Mechanism) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรูปแบบที่มีอยู่เดิมที่ถูกนำเสนอโดยกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ I เพื่อใช้หลัง ค.ศ. 2012 ซึ่งจะมีผลต่อแนวทางการดำเนินโครงการ CDM ดังนี้
  • Sectoral CDM เป็นการดำเนินการของสาขาการผลิตใดๆ ร่วมกันดำเนินโครงการ CDM ที่มีการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกันทั้งสาขา (ปริมาณ CERs ที่ได้รับการรับรองก็จะเป็นของทั้งสาขาและมีการจัดสรรให้แก่ผู้ผลิตในสาขานั้นทุกรายที่เข้าร่วมโครงการ) ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดเส้นฐานอ้างอิงระดับสาขา (Sectoral Baseline) Sectoral Crediting Mechanism เป็นการดำเนินการของสาขาการผลิตใดๆ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการ CDM ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดเส้นฐานอ้างอิงระดับสาขาร่วมกัน และมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับสาขาร่วมกัน แต่หากโครงการ CDM ไม่สามารถดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ก็จะไม่สามารถขายปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ (sectoral credits)

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
เริ่มต้นก่อนหน้า1098109911001101110211031104110511061107ต่อไปสุดท้าย
หน้าที่ 1103 จาก 1112
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์