มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ครั้งที่ 1/2550 (ครั้งที่ 45)
วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2550 เวลา 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
1. ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 3
2. ขอนุมัติเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ สำหรับ โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ
3. ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
4. ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการว่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2
5. ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก"
6. ขอคืนหลักประกันซอง โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน
รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (นายวีระพล จิรประดิษฐกุล) กรรมการและเลขานุการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) กระทรวงพลังงาน ผู้เข้าร่วมประชุม
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณา อนุมัติจัดสรรเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน ดังนี้
1.1 คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2548 (ครั้งที่ 40) เมื่อ 25 สิงหาคม 2548
(1) อนุมัติเงินกองทุนฯ 2,000 ล้านบาท ให้ พพ. เพื่อดำเนินโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 โดยใช้เงินจาก แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน งานส่งเสริมและสาธิต ปีงบประมาณ 2549 เพื่อให้สถาบันการเงินที่ผ่านการคัดเลือกของ พพ. นำไปเป็นเงินหมุนเวียนให้แก่โรงงาน อาคาร และบริษัทจัดการพลังงาน นำไปใช้ในการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงาน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยสถาบันการเงินนั้น จะต้องปล่อยกู้ภายในระยะเวลา 3 ปี และส่งคืนกองทุนฯ ผ่าน พพ. ในเวลา 10 ปี นับจากวันที่ พพ. ทำสัญญากับสถาบันการเงิน โดยจะมีขั้นตอน เงื่อนไข หลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายเงิน ในการสนับสนุนเหมือนกับโครงการเงินหมุนเวียนฯ ระยะที่ 1
(2) ให้ พพ. ดำเนินการเจรจากับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้จ่ายดอกเบี้ยคืนกองทุนฯ ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของเงินกองทุนฯ ที่สถาบันการเงินนำไปปล่อยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อเป็นค่าเสียโอกาสในส่วนดอกเบี้ยเงินฝากที่กองทุนฯ ได้รับเป็นประจำ
1.2 คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2549 (ครั้งที่ 44) เมื่อ 21 ธันวาคม 2549 ได้อนุมัติเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจำนวน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้ พพ. ดำเนินโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริม การใช้พลังงานทดแทน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 1 โดยใช้เงินจากแผนพลังงานทดแทน งานส่งเสริมและสาธิต ปีงบประมาณ 2550
2. ผลการดำเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนฯ
2.1 ผลการดำเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานฯ ระยะที่ 1
การดำเนินงานฯ ระยะที่ 1 โครงการฯ ได้ครบกำหนดระยะเวลาการปล่อยกู้เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2550 โดย พพ. ได้อนุมัติข้อเสนอโครงการจำนวนทั้งสิ้น 78 ข้อเสนอ ประกอบด้วย อาคารจำนวน 13 ข้อเสนอ โรงงาน 63 ข้อเสนอ บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) 2 ข้อเสนอ จำนวนเงินที่ พพ. อนุมัติคิดเป็นเงิน 1,908 ล้านบาท โดยมีเงินลงทุนจำนวน 3,427 ล้านบาท และจากการประเมินศักยภาพผลการอนุรักษ์พลังงานที่ประเทศชาติจะได้รับ คิดเป็นการประหยัดพลังงานรวมเป็นเงิน 1,402 ล้านบาทต่อปี
2.2 ผลการดำเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานฯ ระยะที่ 2
การดำเนินงานฯ ระยะที่ 2 โครงการฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน 2550) ครบกำหนดระยะเวลาการปล่อยกู้เมื่อ 16 มีนาคม 2552 โดย พพ. ได้อนุมัติข้อเสนอโครงการจำนวนทั้งสิ้น 75 ข้อเสนอ ประกอบด้วย อาคารจำนวน 9 ข้อเสนอ โรงงาน 66 ข้อเสนอ จำนวนเงินที่ พพ. อนุมัติคิดเป็นเงิน 1,446 ล้านบาท (วงเงินคงเหลือ 554 ล้านบาท) โดยมีเงินลงทุนจำนวน 2,794 ล้านบาท และจากการประเมินศักยภาพผลการอนุรักษ์พลังงานที่ประเทศชาติจะได้รับ คิดเป็นการประหยัดพลังงานรวมเป็นเงิน 1,258 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการในระยะที่ 2 ได้ปล่อยสินเชื่อสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเองในวงเงินกว่า 12,000 ล้านบาท และยังมีข้อเสนอโครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ พพ. อีกจำนวน 20 ข้อเสนอ ในวงเงินกว่า 567 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าวงเงินในระยะที่ 2
2.3 สรุปผลการดำเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานฯ ระยะที่ 1 และ 2
พพ. ได้อนุมัติข้อเสนอโครงการจำนวนทั้งสิ้น 153 ข้อเสนอ ประกอบด้วย อาคาร 22 ข้อเสนอ โรงงาน 129 ข้อเสนอ บริษัทจัดการพลังงาน 2 ข้อเสนอ รวมจำนวนเงินที่ พพ. อนุมัติ 3,354 ล้านบาท โดยมีเงินลงทุนทั้งหมดจำนวน 6,221 ล้านบาท มีศักยภาพผลการอนุรักษ์พลังงานที่ประหยัดได้ตลอดอายุอุปกรณ์ สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 6,329 ล้านหน่วย (คิดเป็นเงิน 20,486 ล้านบาท) ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 2,134 ล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันเตา (คิดเป็นเงิน 15,608 ล้านบาท) รวมประหยัดได้ 36,094 ล้านบาท หรือ 2,384 ktoe
2.4 ความคืบหน้าโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนฯ ระยะที่ 1
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการฯ การดำเนินงานของโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ระยะที่ 1 พพ. จะดำเนินการจัดสรรวงเงินให้แก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 11 แห่ง โดยจะมีขั้นตอน เงื่อนไข หลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายเงิน ในการสนับสนุนเช่นเดียวกับโครงการเงินหมุนเวียนฯ ในระยะที่ 2 ต่อไป โดยจะเน้นการให้สินเชื่อทางด้านพลังงานทดแทนให้มากขึ้น
3. เหตุผลความจำเป็นในการเพิ่มวงเงินหมุนเวียน
3.1 ความต้องการการลงทุนโครงการด้านพลังงานของภาคสถาบันการเงิน : จากการสำรวจข้อมูลจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 11 แห่ง ธนาคารต่างๆ ได้ให้ข้อมูลที่ภาคเอกชนมีความต้องการจะขอสินเชื่อเกี่ยวกับโครงการด้านพลังงานประมาณ 80 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 3,350 ล้านบาท
3.2 โครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอโครงการ : สถาบันการเงินได้ยื่นโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนมายัง พพ. (ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน 2550) และอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอโครงการอย่างเป็นทางการอีกจำนวน 20 ข้อเสนอ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 1,280 ล้านบาท โดยต้องการเงินในส่วนของเงินโครงการเงินหมุนเวียน จำนวน 567.2 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติในโครงการเงินหมุนเวียน ระยะที่ 2
3.3 การพิจารณาผลกระทบกับฐานะของกองทุนฯ
เมื่อพิจารณาฐานะการเงินของกองทุนฯ โดยอยู่บนฐานของรายได้เฉลี่ยปีละ 1,400 ล้านบาท และประมาณการรายจ่ายปีละ 2,000 ล้านบาท หากมีการจัดสรรเงินเพิ่มเติมอีก 1,000 ล้านบาท เพื่อให้ พพ. รับไปดำเนินโครงการเงินหมุนเวียนฯ ระยะที่ 3 จะมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของกองทุนฯ ที่จะขาดดุลในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 วงเงิน 610 ล้านบาท และ 281 ล้านบาท ตามลำดับ และจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยแสดงรายการได้ดังนี้
ปีงบประมาณ | 2550 | 2551 | 2552 | 2553 | 2554 | รวม |
1. เงินคงเหลือยกมาต้นปี | 4,915 | 1,239 | (610) | (281) | 184 | 4,915 |
2.ประมาณการรายรับล่วงหน้า | 1,795 | 2,149 | 2,198 | 2,248 | 2,299 | 10,688 |
3. เงินทุนหมุนเวียนรอรับคืน | 413 | 937 | 1,080 | 986 | 936 | 4,351 |
รวมรับ | 2,208 | 3,086 | 3,277 | 3,233 | 3,235 | 19,954 |
4. รายจ่าย ประกอบด้วย | ||||||
4.1 รายจ่ายผูกพัน ปี 2538-2547 | 558 | 468 | 398 | 265 | 76 | 1,764 |
4.2 รายจ่ายผูกพัน ปี 2548-2549 | 3,082 | 824 | 551 | 503 | - | 4,959 |
4.3 ประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า | 2,244 | 3,644 | 2,000 | 2,000 | 2,600 | 12,488 |
รวมจ่าย | 5,884 | 4,935 | 2,948 | 2,768 | 2,676 | 19,212 |
5. เงินคงเหลือปลายปี ยกไป | 1,239 | (610) | (281) | 184 | 742 | 742 |
4. คณะอนุกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2550 (ครั้งที่ 7) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 ได้เห็นชอบ "โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 3" ตามที่ พพ. เสนอมา
(1) จากความต้องการของภาคเอกชนที่ให้ความสนใจยื่นขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนด้านพลังงานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และสถาบันการเงินจะได้มีความเชื่อมั่นสามารถตัดสินใจในการให้สินเชื่อได้เร็วขึ้นหากมีนโยบายหรือสัญญาณที่แสดงว่าจะมีแหล่งเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ จึงเห็นควรสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามการจัดสรรเงินในช่วงปีงบประมาณ 2551 และ 2552 ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อลดรายจ่ายตามแผนงานที่คาดว่าจะใช้จ่ายปีละ 2,000 ล้านบาท เพื่อให้ฐานะการเงินของกองทุนฯ อยู่ในลักษณะไม่ขาดดุล
(2) งานด้านอนุรักษ์พลังงานและผลักดันการใช้พลังงานทดแทนมีหลายโครงการที่จำเป็นต้องมีแหล่งทุนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มสภาพคล่องให้กับกองทุนฯ อาจต้องขอโอนเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 2,700 - 3,000 ล้านบาท ซึ่ง ณ เดือนมกราคม 2550 ฐานะของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มจะสามารถชำระหนี้ชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระและหนี้ชดเชยราคา LPG ที่มีวงเงิน 34,204 ล้านบาท ได้หมดภายในสิ้นปี 2550 จึงควรเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโอนเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วนมาสมทบเป็นรายได้ให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพช่วยผลักดันการดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศได้มากขึ้น
(3) ระหว่างที่รอปรับฐานะการเงินของกองทุนฯ ให้ พพ. ขยายกรอบการใช้เงิน "โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ระยะที่ 1" ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติจัดสรรเงินไว้แล้วเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท ให้สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเพื่อการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานได้ด้วย โดยมีขั้นตอน เงื่อนไข หลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายเงิน ในการสนับสนุนเหมือนกับโครงการเงินหมุนเวียนฯ ระยะที่ 2 และให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการด้วย
(4) พพ. ควรนำตัวอย่างมาตรการที่ประสบความสำเร็จของโครงการฯ ระยะที่ 1 และ 2 ไปเผยแพร่ให้สาธารณชนสามารถรับทราบได้มากขึ้นเพื่อจะได้มีการนำไปประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง
มติที่ประชุม
1. อมุมัติให้ พพ. ขยายกรอบการใช้เงิน " โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ระยะที่ " ที่คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติจัดสรรเงินไว้แล้วเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท ให้สามารถปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเพื่อการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน โดยมีขั้นตอนขั้นตอน เงื่อนไข หลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายเงิน ในการให้การสนับสนุนเช่นเดียวกับโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 2
2. อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน งานส่งเสริมและสาธิต ปีงบประมาณ 2550 ให้ พพ. เพิ่มเติม ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ "โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 3" ให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ นำไปเป็นเงินหมุนเวียนให้แก่โรงงาน อาคาร และบริษัทจัดการพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยสถาบันการเงินต้องปล่อยกู้ภายในระยะเวลา 3 ปี และ ส่งเงินคืนกองทุนฯ ผ่าน พพ. ในเวลา 10 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ โดยอนุโลมให้ใช้ขั้นตอน เงื่อนไข หลักเกณฑ์ การเบิกจ่ายเงิน ในการให้การสนับสนุนเช่นเดียวกับโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยสถาบันการเงิน ระยะที่ 2
3. เห็นชอบให้ สนพ. เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโอนเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 3,000 ล้านบาท มาสมทบเป็นรายได้ให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของฐานะการเงินของกองทุนฯ ทำให้มีศักยภาพช่วยผลักดันการดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศได้มากขึ้น
เรื่องที่ 2 ขอนุมัติเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ สำหรับ โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงมาตรการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ สรุปได้ดังนี้
1.1 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาพลังงานของประเทศ โดยกำหนดแนวทางในการส่งเสริมการนำก๊าซธรรมชาติ (NGV) มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลและให้รถยนต์ราชการที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเปลี่ยนไปใช้ NGV โดยให้ ปตท. ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้ก่อน และให้กระทรวงการคลังกำหนดระเบียบการผ่อนจ่ายค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ราชการเพื่อคืนให้ ปตท. โดยบวกเพิ่มในราคาก๊าซฯ อีกกิโลกรัมละ 5 บาท เป็น 9.53 + 5.00 บาท = 14.53 บาท และ คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2548 (ครั้งที่ 40) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ได้พิจารณาข้อเสนอ "โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ" และมีมติดังนี้
(1) อนุมัติเงินกองทุนฯ จากแผนพลังงานทดแทน ปีงบประมาณ 2548 ให้ ปตท. เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย ในวงเงิน 110 ล้านบาท (หนึ่งร้อยสิบล้านบาทถ้วน) มีระยะเวลาใช้เงินทั้งหมดคืนกองทุนฯ ภายใน 10 ปี โดยใช้คืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินภายในปีที่ 5 และคืนส่วนที่เหลือภายในปีที่ 10
(2) ก่อนดำเนินโครงการฯ ให้ ปตท. หารือกับกรมบัญชีกลาง เรื่องระเบียบวิธีการเบิกจ่ายและเรียกเก็บเงินคืนกองทุนฯ และให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 19 เมษายน 2548 ที่ให้ ปตท. ออกค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้ก่อน และให้ส่วนราชการผ่อนจ่ายคืนโดยบวกเพิ่มในราคาก๊าซ ซึ่งหากวิธีดำเนินการขัดกับมติคณะรัฐมนตรีก็ให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
(3) การติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยใช้เงินกองทุนฯ ให้ดำเนินการกับรถยนต์ราชการจำนวน 1,708 คัน ที่แจ้งความประสงค์ไว้ ในราคาประมาณ 65,000 บาท/คัน และสำหรับรถยนต์ราชการที่จะติดตั้งต่อจากนี้ให้ตั้งเรื่องของบประมาณแผ่นดินมาเป็นค่าติดตั้ง
(4) รถยนต์ของส่วนราชการที่ติดตั้งอุปกรณ์ NGV แล้ว และรถยนต์หมดอายุการใช้งานก่อนอุปกรณ์ NGV สามารถนำอุปกรณ์ NGV เปลี่ยนไปติดตั้งกับรถยนต์ราชการคันอื่นได้
1.2 กระทรวงการคลังเห็นว่าการผ่อนชำระคืนค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้กับรถยนต์ราชการที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนราชการต่างๆ ไม่สามารถชำระค่าติดตั้งให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ และจะต้องผูกพันเงินงบประมาณในปีต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการก่อหนี้ผูกพัน ตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23 วรรค 4 ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2548 ได้อนุมัติหลักการให้ทุกส่วนราชการที่นำรถยนต์ราชการเข้าร่วม "โครงการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้แก่รถยนต์ราชการ" ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณในการผ่อนชำระคืนค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้แก่กองทุนฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และสำหรับแนวทางการชำระคืนเงินค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV มีมติให้ สนพ. เป็นผู้แทนทุกส่วนราชการในการเสนอขอตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนชดเชยกองทุนฯ เพื่อผูกพันงบประมาณโดยรวม
1.3 ในปี 2549 ปตท. ได้ติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้รถยนต์ราชการรวม 1,209 คัน (เป้าหมายเดิมจำนวน 1,708 คัน) คาดว่าจะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในภาครัฐคิดเป็นมูลรวม 32,358,856 บาท/ปี ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานเห็นว่ายังมีรถยนต์ราชการจำนวน 1,200 คัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ NGV จึงเสนอขอใช้เงินจากกองทุนฯ 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยสำหรับสนับสนุนค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้กับหน่วยงานดังกล่าว โดยในครั้งนี้กรมธุรกิจพลังงานจะเป็นผู้แทนทุกส่วนราชการในการเสนอขอตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนชดเชยกองทุนฯ
1.4 คณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2549 (ครั้งที่ 44) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 ได้มีมติอนุมัติเงินกองทุนฯ ให้ สนพ. ในวงเงินรวม 1,188,516,104 บาท (หนึ่งพันหนึ่งร้อยแปดสิบแปดล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นหกพันหนึ่งร้อยสี่บาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปี 2550 ในส่วนที่ สนพ. รับผิดชอบ ภายใต้แผนพลังงานทดแทน งานส่งเสริมและสาธิต จะมีงบประมาณส่วนหนึ่งในวงเงิน 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) ที่เตรียมไว้ให้กรมธุรกิจพลังงานเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" ซึ่งปัจจุบัน (25 เมษายน 2550) กรมธุรกิจพลังงานกำลังจัดทำรายละเอียดของโครงการฯ เสนอ สนพ.
2. ผลการดำเนินงาน
ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ( ธันวาคม 2548 ถึง ธันวาคม 2549) สนพ. ปตท. กรมธุรกิจพลังงาน กรมการพลังงานทหาร กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกันดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ราชการ จำนวน 1,209 คัน ประกอบด้วย
รถยนต์เบนซิน ติดระบบ Bi Fuel 1,177 คัน (41,000 ถึง 97,000 บาท/คัน)
รถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ติดระบบ Diesel Dual Fuel 27 คัน ( 45,000 บาท/คัน)
รถบัส เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ NGV (Re – powering) 5 คัน ( 150,000 บาท/คัน)
การดำเนินงานดังกล่าวคาดว่า ส่วนราชการจะประหยัดน้ำมันเบนซินได้ 1,730,100 ลิตรต่อปี และดีเซล 217,175 ลิตรต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าผลประหยัดรวม 32,358,856 บาทต่อปี โดย ปตท. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ผ่านเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย รวม 66,091,653 บาท (หกสิบหกล้านเก้าหมื่นหนึ่งพันหกร้อยห้าสิบสามบาทถ้วน) และ สนพ. เตรียมตั้งเป็นรายจ่ายในงบประมาณประจำปี 2551 เสนอสำนักงบประมาณเพื่อนำมาชำระคืนกองทุนฯ ต่อไป
3. การขอเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ
3.1 ปัจจุบันฐานะการเงินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเมื่อจัดสรรเงินตามประมาณการรายจ่ายตามแผนงาน 2550-2554 แล้วยังอยู่ในลักษณะสมดุล และกระทรวงพลังงานได้ประเมินฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วเห็นว่ามีแนวโน้มจะสามารถชำระหนี้ชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระและหนี้ชดเชยราคา LPG ได้หมดภายในสิ้นปี 2550 จึงจะเสนอขอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโอนเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วนมาสมทบเป็นรายได้ให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพช่วยผลักดันการดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศได้มากขึ้น
3.2 จากเหตุผลตามข้อ 3.1 ประกอบกับภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากในการผลักดันงานและโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาและสร้างความมั่นคงของประเทศ สนพ. จึงขอเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อโปรดพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการใช้เงินจากกองทุนฯ สำหรับ "โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ" ของ ปตท. และ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" ของกรมธุรกิจพลังงาน ดังต่อไปนี้
(1) ให้การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ภายใต้ "โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ" และ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" เปลี่ยนแปลงเป็น "เงินให้เปล่า" แทน "เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย ที่ต้องคืนกองทุนฯ ภายใน 10 ปี โดยใช้คืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินภายในปีที่ 5 และคืนส่วนที่เหลือภายในปีที่ 10"
(2) จากข้อ (1) สนพ. และกรมธุรกิจพลังงาน ไม่ต้องตั้งรายจ่ายในงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อนำมาชำระคืนกองทุนฯ
(3) เปลี่ยนชื่อ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" ที่กรมธุรกิจพลังงานได้รับอนุมัติจัดสรรเงินไว้แล้วจากมติคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2549 (ครั้งที่ 44) เมื่อ 21 ธันวาคม 2549 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" และให้กรมธุรกิจพลังงานปรับแผนงานโครงการฯ ให้สอดรับกับการดำเนินงานสนับสนุนค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ราชการ แบบให้เปล่า
4. มติคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
คณะอนุกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2550 (ครั้งที่ 8) เมื่อ 25 เมษายน 2550 เห็นว่า ทั้ง 2 โครงการข้างต้นได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ไปแล้วโดยให้ใช้ในลักษณะ "เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย" ที่ สนพ. จะเป็นผู้แทนทุกส่วนราชการในการเสนอขอตั้งงบประมาณแผ่นดินนำมาชำระคืนกองทุนฯ ภายหลังและในเวลาที่กำหนด ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าทั้ง 2 โครงการดังกล่าวเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ให้รถยนต์ของส่วนราชการ และฐานะการเงินของกองทุนฯ ที่มีสภาพคล่องดีแล้ว จึงเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงการใช้เงินจากกองทุนฯ ตามที่ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมาในข้อ 3 .4 และให้เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อโปรดพิจารณาต่อไป
มติที่ประชุม
1. อนุมัติให้การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ภายใต้ "โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ" และ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" เปลี่ยนแปลงเป็น "เงินให้เปล่า" แทน "เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย ที่ต้องคืนกองทุนฯ ภายใน 10 ปี โดยใช้คืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินภายในปีที่ 5 และคืนส่วนที่เหลือภายในปีที่ 10" ทั้งนี้ สนพ. และกรมธุรกิจพลังงาน ไม่ต้องตั้งรายจ่ายในงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อนำมาชำระคืนกองทุนฯ ทั้ง 2 โครงการ
2. อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อ "โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" ที่กรมธุรกิจพลังงานได้รับอนุมัติจัดสรรเงินไว้แล้วจากมติคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2549 (ครั้งที่ 44) เมื่อ 21 ธันวาคม 2549 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "โครงการส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์ราชการ ระยะที่ 2" และให้กรมธุรกิจพลังงาน ปรับแผนงานโครงการฯ ให้สอดรับกับการดำเนินงานสนับสนุนค่าติดตั้งอุปกรณ์ NGV ในรถยนต์ราชการ แบบให้เปล่า
เรื่องที่ 3 ขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่า พพ. เสนอขอรับจัดสรรเงินจากกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2550 เพิ่มเติม ในวงเงิน 119,000,000 บาท (หนึ่งร้อยสิบเก้าล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน "โครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม" ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2549 (ครั้งที่ 41) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 เคยมีมติอนุมัติเงินกองทุนฯ แผนพลังงานทดแทน งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค ปีงบประมาณ 2549 ให้ พพ. ไปดำเนินการจัดหา ติดตั้ง กังหันลมระบบมีเกียร์ เพื่อสาธิตการผลิตไฟฟ้า ขนาด 1.5 MW บริเวณพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ ให้ พพ. ทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโครงการและพพ. จะต้องจัดหาผู้ดำเนินการติดตั้งระบบกังหันลมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับทุนจากกองทุนฯ
พพ. ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวงเงิน 498,000 บาท ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และได้ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์แล้วเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2549 สรุปได้ ดังนี้
(1) ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทางด้านลบในระดับ "น้อย" ขณะที่คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับ "มาก"
(2) จัดรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ มีผู้เข้าร่วม 113 คน โดยร้อยละ 98.7 เห็นด้วยเพราะเห็นว่าจะเป็นแหล่งพลังงาน แหล่งท่องเที่ยวใหม่และช่วยนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่น ส่วนร้อยละ 1.3 มีความกังวลในเรื่องเสียงรบกวน ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการทำมาหากิน (ผลกระทบกับนกนางแอ่น ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจประจำท้องถิ่น)
2. พพ. ไม่สามารถดำเนินการจัดหาผู้ดำเนินการติดตั้งระบบกังหันลมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีได้ จึงนำโครงการดังกล่าว เสนอคณะอนุกรรมการกองทุนฯ พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 1/2550 (ครั้งที่ 8) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ อีกครั้ง เพราะจากการดำเนินการจัดหาผู้ติดตั้งระบบฯ ตามขั้นตอนของระเบียบพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศลงวันที่ 11 กันยายน 2549 กำหนดให้ยื่นเอกสารวันที่ 21 กันยายน 2549 ปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียง 1 ราย พพ. จึงยกเลิกการจัดหาเมื่อ 26 กันยายน 2549 เป็นเหตุให้ พพ. ไม่สามารถจัดหาผู้ดำเนินการติดตั้งระบบกังหันลมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่การดำเนินงานของโครงการในกิจกรรมอื่น มีความก้าวหน้าไปพอสมควรแล้ว และได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นเป็นอย่างดี เพื่อให้มีทางเลือกในการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ทดแทนพลังงานสิ้นเปลือง พพ. จึงเสนอขอที่จะดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อ โดยใช้เงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2550 ในวงเงิน 119 ล้านบาท ซึ่ง พพ. จะดำเนินการติดตั้งกังหันลม 1 ชุด จะเสียค่าใช้จ่าย Overhead ไม่ต่างกับการติดตั้ง Wind Farm (ตั้งแต่ 5 ชุดขึ้นไป)
3. มติคณะอนุกรรมการฯ 1/2550 และ 2/2550
คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติเงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2550 ให้ พพ. เพิ่มเติม ในวงเงิน 119 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ "โครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม"
มติที่ประชุม
อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนพลังงานทดแทน งานศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านเทคนิค ปีงบประมาณ 2550 ให้ พพ. เพิ่มเติม ในวงเงิน 119,000,000 บาท (หนึ่งร้อยสิบเก้าล้านบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ โครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ตามรายละเอียดที่ปรากฎในเอกสารประกอบวาระ 3.3
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ ขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำ "โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 จำนวน 11 ผลิตภัณฑ์" เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติเงินจากกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2550 ให้ พพ. เพิ่มเติมในวงเงินรวม 18.8 ล้านบาท (สิบแปดล้านแปดแสนบาทถ้วน) เป็นค่าดำเนินงานโครงการดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1) วัตถุประสงค์และสาระสำคัญ
ในช่วงปี 2543-2548 พพ. ได้จัดทำร่างกฎกระทรวงฯ จำนวน 11 ผลิตภัณฑ์ไว้แล้ว คือ กระจก ตู้แช่ เตารีดไฟฟ้า เครื่องซักผ้า เตาไฟฟ้า เตาอบไมโครเวฟ กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า ฉนวนใยแก้ว เครื่องอบผ้า เตาอบไฟฟ้า และเครื่องทำน้ำเย็น แต่เนื่องจากร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้จัดทำไว้หลายปีแล้วโดยอาศัยข้อมูลจากเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ ณ เวลานั้น ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีของแต่ละผลิตภัณฑ์ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว จึงจำเป็นต้องทบทวนร่างกฎกระทรวงฯ ให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน เพื่อประกาศใช้ในการส่งเสริมการผลิตและจำหน่าย ตลอดจนจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ประสิทธิภาพขั้นต่ำ) เพื่อส่งให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดำเนินการต่อไป
2) งบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ ขอรับสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงินรวม 18.8 ล้านบาท แบ่งเป็น
ค่าใช้จ่าย | จำนวน |
1. ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร | 6,337,550 บาท |
2. ค่าใช้จ่ายประชุม-สัมมนา | 1,450,000 บาท |
3. ค่าใช้จ่ายทดสอบผลิตภัณฑ์ | 4,950,000 บาท |
4. ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ | 5,092,100 บาท |
5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ | 972,100 บาท |
รวม | 18,801,650 บาท |
* ขอสนับสนุนจากกองทุนฯ | 18,800,000 บาท |
3) ประโยชน์ที่มีต่อการประหยัดพลังงาน : ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน คาดว่าการออกกฎกระทรวงของอุปกรณ์ 11 ประเภท จะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานได้ 90 ktoe/ปี
เห็นระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเห็นว่ารายละเอียดในข้อเสนอของ พพ. ยังขาดข้อมูลในประเด็นสำคัญ คือ2. สนพ. ได้ประเมินคุณภาพของข้อเสนอฯ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย 1) ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ 2) ศ.ดร.จุลละพงษ์ จุลละโพธิ และ 3) รศ.ดร.อภิชิต เทอดโยธิน ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความ
(1) การทบทวนงานที่หน่วยงานต่างๆ รวมถึง พพ. ที่ได้ดำเนินการศึกษาไว้แล้ว เพื่อศึกษาแนวทาง กระบวนการที่จะผลักดันให้งานจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพ ประสพความสำเร็จ
(2) การทบทวนผลการดำเนินงานศึกษาร่างกฎกระทรวงที่ พพ. ดำเนินการผ่านมา เพื่อบ่งชี้ให้เห็นปัญหาอุปสรรคที่ พพ. ไม่สามารถนำร่างกฎกระทรวงของอุปกรณ์ที่ได้ศึกษาไว้ทั้ง 24 ชนิด มาประกาศใช้ และระบุกระบวนการหรือแนวทางที่จะเชื่อมั่นได้ว่าการศึกษาครั้งนี้ จะผ่านอุปสรรคเดิมและสามารถประกาศกฎกระทรวงได้
(3) การอ้างอิงถึงกระบวนการพิจารณาถึงความเหมาะสมที่แจ้งว่าผลการศึกษาเดิม (ปี 2543-2548) ไม่เป็นปัจจุบัน จำเป็นต้องศึกษาใหม่ ทั้ง 11 อุปกรณ์
(4) เหตุผลที่ต้องศึกษาเพื่อกำหนดค่ามาตรฐานโดยแยกเป็นรายอุปกรณ์ เพราะอุปกรณ์บางชนิดไม่มีความซับซ้อนและเทคโนโลยีไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น กระติกน้ำร้อน กาต้มน้ำร้อน เตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น หรือความจำเป็นที่ต้องกำหนดมาตรฐานในอุปกรณ์บางชนิดที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ออกรุ่นใหม่ๆ มาเสมอ เช่น เครื่องซักผ้า และมีแนวทางจะกำหนดมาตรฐานอย่างไรกับอุปกรณ์ลักษณะนี้
(5) ความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดำเนินการแทนในทุกรายการ เพราะการทบทวนกฎกระทรวงฯ ไม่น่าจะจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษามาให้ความเห็นทุกอุปกรณ์ บุคลากรของหน่วยงานเจ้าของโครงการ น่าจะดำเนินการเองได้ เพราะต้องมีความชำนาญการในเรื่องนี้มากกว่าที่ปรึกษาเพื่อการกำกับดูแลคุณภาพงานจะได้เป็นไปด้วยความครบถ้วน
(6) ที่มาของผลการประหยัดพลังงานที่ระบุไว้ หากมีการประกาศใช้กฎกระทรวงของ 11 ผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานได้ 90 ktoe/ปี
(7) ยังไม่ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ เพราะเป้าหมายของโครงการฯ เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ยังไม่มีผลเป็นนามธรรมหรือจับต้องได้
โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า พพ. ควรจัดทำข้อเสนอใหม่ โดยเพิ่มเติมข้อมูลที่สำคัญในประเด็น ตามที่มีความเห็นไว้ข้างต้น ประกอบกับในช่วงนี้กระทรวงพลังงานจะทำงบประมาณปี 2551 เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา และงานที่ พพ. มีอยู่เดิมและต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2550 มีปริมาณมากอยู่แล้ว จึงเห็นควรให้ พพ. จัดทำรายละเอียดและปรับแนวทางการดำเนินโครงการฯ ให้เรียบร้อย และยื่นเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2551 ต่อไป
3. มติคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
ด้วยเรื่องดังกล่าวมีความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เครื่องจักรอุปกรณ์และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว พพ. จึงได้จัดทำข้อเสนอฯ ที่ได้ปรับปรุงตามความเห็นของคณะผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 2 เสนอคณะอนุกรรมการกองทุนฯ พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 3/2550 (ครั้งที่ 9) เมื่อ 11 มิถุนายน 2550 ซึ่งเห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาต่อไป โดยให้ พพ. ปรับลดงบประมาณในการประชาสัมพันธ์ให้เน้นเพียงการสร้างความเข้าใจกับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นและสามารถจัดทำการประชาสัมพันธ์พร้อมกันได้เมื่อประกาศใช้กฎกระทรวงแล้ว
พพ. ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อเสนอโครงการฯ ตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยการปรับลดงบประมาณในการประชาสัมพันธ์ให้เน้นเพียงการสร้างความเข้าใจกับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเท่านั้น พร้อมทั้งปรับลดวงเงินงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เป็นเงิน 15,700,00 บาท ฝ่ายเลขานุการฯ จึงใคร่ขอเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา ตามรายละเอียดที่ปรากฏเอกสารประกอบวาระ 3.4.
มติที่ประชุม
อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน งานส่งเสริมและสาธิต ปีงบประมาณ 2550 ให้ พพ. เพิ่มเติมในวงเงินรวม 13,700,000 บาท (สิบสามล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน) เป็นค่าดำเนินงาน "โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2" ตามรายละเอียดที่ปรากฏเอกสารประกอบวาระ 3.4 โดยให้ประสานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการดำเนินการด้วย
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ ขอให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำ "โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก" เสนอคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินจากกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2550 ให้ พพ. เพิ่มเติมในวงเงินรวม 22 ล้านบาท (ยี่สิบสองล้านบาทถ้วน) เป็นค่าดำเนินงานโครงการ สรุปได้ดังนี้
1) วัตถุประสงค์และสาระสำคัญ
โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วประเทศ มีประมาณ 36,000 แห่ง ที่ต้องการความรู้ความเข้าใจวิธีการอนุรักษ์พลังงานอย่างถูกต้องและเป็นระบบ ในช่วงปี 2548 และ 2549 พพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเข้าไปดำเนินการโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กแล้ว 700 แห่ง เกิดผลประหยัดพลังงาน 8.366 ktoe และเพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง พพ. จึงจะว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการต่อในปี 2550 อีก 100 แห่ง
2) งบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ ขอสนับสนุนจากกองทุนฯ 22 ล้านบาท แบ่งเป็น
ค่าใช้จ่ายต่อกลุ่ม (กลุ่มละ 25 แห่ง) | จำนวน |
1. ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร | 3,306,000 บาท |
2. ค่าใช้จ่ายอื่น | 1,835,250 บาท |
3. ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 | 359,888 บาท |
รวม | 5,501,138 บาท |
ขอตั้งงบประมาณ ต่อกลุ่ม | 5,500,000 บาท |
รวมงบประมาณ 100 แห่ง (แบ่ง 4 กลุ่มๆ ละ 25 แห่ง) | 22,000,000 บาท |
3) ประโยชน์ที่มีต่อการประหยัดพลังงาน : ระยะเวลา 8 เดือน คาดว่าจะมีผลประหยัดพลังงานเฉลี่ยต่อแห่งไม่ต่ำกว่า 5 toe/ปี หรือเมื่อจบโครงการแล้วจะเกิดผลประหยัดรวมไม่น้อยกว่า 500 toe/ปี ระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี
2. สนพ. ได้ประเมินคุณภาพของข้อเสนอฯ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย 1) ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ 2) ศ.ดร.จุลละพงษ์ จุลละโพธิ และ 3) รศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเห็นว่ารายละเอียดในข้อเสนอของ พพ. ยังขาดข้อมูลในประเด็นสำคัญ คือ
(1) การทบทวนการทำงานโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม ที่ พพ. ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545 การที่บ่งชี้ถึงสิ่งที่ พพ. ได้เรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน จำแนกกลุ่มของสถานประกอบการที่เข้าไปดำเนินการมาแล้ว แสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งด้านพลังงานและมาตรการที่เกิดขึ้น ระบุประเด็นปัญหาหรือข้อจำกัด ที่นำมาสู่การทำโครงการตามที่เสนอมาในครั้งนี้ โดยระบุให้ชัดเจนว่าจะเลือกเข้าไปดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายใน sector ใดบ้าง ด้วยเหตุผลอะไร
(2) ปรับแนวทางการดำเนินโครงการฯ ที่ไม่ใช่การดำเนินการผ่านระบบที่ปรึกษา แต่ควรมุ่งเน้นกระบวนการที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนโดยปลูกฝังพัฒนาไว้ที่บุคลากรของสถานประกอบการ เช่น การนำองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานที่ผ่านมาที่ พพ. จัดทำไว้ในรูปแบบเอกสารเผยแพร่ หรือ VDO อยู่มากนั้น ไปขยายผลด้วยวิธีที่เข้าถึงสถานประกอบการที่ยังไม่ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานกว่า 20,000 แห่ง ได้เร็วขึ้น รวมถึงการใช้ทรัพย์สินที่ลงทุนไว้แล้ว เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษา ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น หรือหากต้องการให้มีที่ปรึกษาเข้าไปช่วยให้คำแนะนำ ก็ควรให้เจ้าของสถานประกอบการนั้นออกค่าใช้จ่ายด้วยส่วนหนึ่ง
(3) พิจารณาปรับตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ จากที่จะประหยัดพลังงานเฉลี่ยต่อแห่งไม่ต่ำกว่า 5 toe/ปี โดยน่าจะเพิ่มการวัดผลที่ความยั่งยืนที่สถานประกอบการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องด้วย
โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า พพ. ควรจัดทำข้อเสนอใหม่ โดยเพิ่มเติมข้อมูลที่สำคัญในประเด็น ตามที่มีความเห็นไว้ข้างต้น ประกอบกับในช่วงนี้กระทรวงพลังงานจะทำงบประมาณปี 2551 เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา และงานที่ พพ. มีอยู่เดิมและต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2550 มีปริมาณมากอยู่แล้ว จึงเห็นควรให้ พพ. จัดทำรายละเอียดและปรับแนวทางการดำเนินโครงการฯ ให้เรียบร้อย และยื่นเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2551 ต่อไป
3. มติคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
ด้วยเรื่องดังกล่าวมีความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อช่วยผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ประกอบกับ พพ.ได้จัดทำข้อเสนอที่ปรับปรุงตามความเห็นของคณะผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 2 เสนอคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2550 (ครั้งที่ 9) เมื่อ 11 มิถุนายน 2550 ได้พิจารณาแล้ว มีมติชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาต่อไป ตามรายละเอียดปรากฏในเอกสารประกอบวาระ 3.5
มติที่ประชุม
อนุมัติเงินกองทุนฯ แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน งานส่งเสริมและสาธิต ปีงบประมาณ 2550 ให้ พพ. เพิ่มเติมในวงเงินรวม 22 ล้านบาท (ยี่สิบสองล้านบาทถ้วน) เป็นค่าดำเนิน "โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก" ตามรายละเอียดปรากฏในเอกสารประกอบวาระ 3.5 ทั้งนี้ก่อนดำเนินโครงการให้ พพ. พิจารณาปรับข้อเสนอโครงการฯ ตามข้อเสนอแนะในรายงานของคณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน ด้วย
เรื่องที่ 6 ขอคืนหลักประกันซอง โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน
1. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณาเกี่ยวกับการขอคืนหลักประกันซองโครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ที่ไม่ได้ทำสัญญาขอรับการสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้าส่วนเพิ่มกับ กฟผ. รวม 6 ราย คือ
(1) อุตสาหกรรมโคราช จำกัด จ.นครราชสีมา
(2) ไฟฟ้าชนบท จำกัด จ.ลพบุรี
(3) น้ำตาลตะวันออก จำกัด จ.สระแก้ว
(4) ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) จ.ลพบุรี
(5) ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (เขื่อนเจ้าพระยา) จ.ชัยนาท
(6) ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (เขื่อนคลองท่าด่าน) จ.นครนายก
2. การคืนหนังสือค้ำประกันซองให้กับ 6 หน่วยงาน สนพ. ได้พิจารณาตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน "เอกสารเชิญชวนเพื่อยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน" ตามที่แจ้งแล้วในข้อ 1.1 และสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้
2.1 รายที่ 1 บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด สนพ. ได้คืนหนังสือค้ำประกันซองให้บริษัทฯ แล้ว เมื่อ 18 พฤษภาคม 2548 เนื่องจาก เป็นไปตามข้อ 1.1 (3) บริษัทฯ ไม่ผ่านการพิจารณาตามระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กของการไฟฟ้า เพราะ ไม่สามารถจัดหาเชื้อเพลิงได้สม่ำเสมอและเพียงพอต่อการขายไฟฟ้าตามสัญญา Firm อันเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาล ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในคราวการประชุมครั้งที่ 2/2547 เมื่อ 28 กรกฎาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบให้ บริษัท อุตสาหกรรมโคราชฯ ยกเลิกคำร้องการขายไฟฟ้าประเภทสัญญา Firm ได้
2.2 รายที่ 2 และ 3 สนพ. จะไม่คืนหนังสือค้ำประกันซองให้ เพราะไม่เข้าลักษณะข้อหนึ่งข้อใดตามที่ปรากฏในข้อ 1.1 (1) - (3) แต่เข้าลักษณะของการริบหลักประกันซองในกรณีบริษัทฯ ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่ สนพ. กำหนด แต่ไม่ไปทำสัญญาขอรับเงินสนับสนุนฯ กับ กฟผ. ภายในเวลาที่กำหนด
2.3 รายที่ 4 ถึง 6 ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งกับ กฟผ. เพื่อจัดทำโรงไฟฟ้าขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทาน บริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อการลงนามในสัญญากับ กฟผ. แล้ว แต่คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อ 9 ธันวาคม 2546 ได้มีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทาน และให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคนิค จึงเป็นเหตุที่ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถดำเนินโครงการดังกล่าวได้
สนพ. เห็นว่า กฟผ. ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินโรงไฟฟ้าขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทานทั้ง 3 แห่ง ทั้งด้านเทคนิค สังคมและสิ่งแวดล้อม แต่เหตุที่ทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถทำสัญญาขอรับการสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้าส่วนเพิ่มกับ กฟผ. ได้ทันภายในเวลาที่กำหนดเกิดจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
กรณีที่เกิดขึ้นข้างต้นไม่ได้ระบุไว้ในเอกสารเชิญชวนฯ สนพ. จึงอาศัยข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารเชิญชวนฯ ข้อ 10 "ในกรณีที่ข้อความในเอกสารเชิญชวนฯ ไม่ชัดเจน......ให้คำวินิจฉัยของ สนพ. ถือเป็นเด็ดขาด" จึงเห็นว่าควรจะคืนหนังสือค้ำประกันซองให้บริษัทฯ ทั้ง 3 ราย อย่างไรก็ตามโครงการสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สนพ. จึงเสนอต่อฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ โปรดพิจารณาเรื่องการคืนหลักประกันซอง ตามที่ สนพ. เสนอมา
มติที่ประชุม
ให้ สนพ. เป็นผู้ดำเนินการในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว