การนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส


ความเป็นมาและการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 และในการเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าพื้นที่จำนวนมากของจังหวัดนราธิวาสมีสภาพเป็นพรุ ยากต่อการนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากดินมีสารไพไรต์อยู่ในปริมาณสูง เมื่อดินแห้งลง อากาศแทรกลงไปทำปฏิกิริยากับสารไพไรต์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน ดินจะแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ หรือบางแห่งให้ผลผลิตต่ำมาก ไม่พอต่อการบริโภค พื้นที่หลายหมื่นไร่ถูกทิ้งร้าง ราษฎรประสบความยากลำบากในการทำมาหากิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์กลางขึ้นมา โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการ ศึกษาวิจัย พัฒนาพื้นที่พรุแบบผสมผสาน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการทั้งพื้นที่ในศูนย์ พื้นที่ต่างๆ ที่มีปัญหาในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

  1. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เนื้อที่ 1,740 ไร่ เป็นพื้นที่ศึกษา ทดลอง และสาธิต จัดเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
  2. พื้นที่พรุโต๊ะแดง เนื้อที่ 261,860 ไร่ เป็นเขตพื้นที่พัฒนาเพื่อการเกษตร เขตอนุรักษ์ไว้เพื่อฟื้นฟูป่าพรุให้กลับคืนสู่สภาพป่าพรุดังเดิม และป่าพรุสมบูรณ์ที่ต้องรักษาไว้อย่างเข้มงวด
  3. พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ ทั้งหมด 11 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ 23,068 ไร่ พัฒนาและส่งเสริมด้านการเกษตรและสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ราษฎรพึ่งตนเองได้
  4. ศูนย์สาขา 4 แห่ง ได้แก่ โครงการสวนยางเขาตันหยง โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์-เกษตรมูโนะ และโครงการพัฒนาพื้นที่บ้านโคกอิฐ โคกใน และบ้านยูโย โดยจัดการพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาและราษฎรมีความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นผู้พิจารณาหาแนวทางและความเป็นไปได้ในการพัฒนา จากนั้นจึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการฯ เข้าไปดำเนินการ

กิจกรรมหลักภายในศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อปรับสภาพน้ำเปรี้ยว โดยกรมโยธาธิการ (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)

เทคโนโลยีเดิมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ใช้การสูบน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำเปรี้ยวให้เป็นน้ำจืดเป็นระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ และเครื่องสูบน้ำขนาด 3 แรงม้า สูบน้ำจากแหล่งน้ำขึ้นถังผสมหินปูน ความสูงประมาณ 15 เมตร จากนั้นจึงปล่อยน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วเข้าสู่แปลงเกษตรต่อไปแต่ระบบดังกล่างมีข้อจำกัดเพราะสามารถใช้ได้เฉพาะในพื้นที่ที่มีไฟฟ้าเข้าถึง จึงทำให้ไม่สามารถขยายผลของเทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพน้ำไปสู่พื้นที่พรุที่ยังไม่มีระบบส่งไฟฟ้าได้

ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท สยามโซลาร์ แอนด์ อีเลคทรอนิคส์ จำกัด

โครงการฯ ได้นำชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 1 แผง หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 6 วัตต์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 4 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก เซนเซอร์วัดความสว่าง 1 ชุด ชุดตั้งเวลาการทำงานของหลอดไฟกับพัดลม 1 ชุด พัดลมขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่อง ชุดแสดงผลความจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ถุงผ้าดักแมลง 1 ถุง และขาตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ 1 ชุด

ลักษณะการทำงานของระบบ เซลล์แสงอาทิตย์จะประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ตกดินเซนเซอร์วัดความสว่างจะสั่งให้หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นหลอดไฟและพัดลมจะหยุดทำงาน เพราะโดยปกติแมลงจะออกมาเล่นไฟประมาณ 2 ชั่วโมง ในขณะที่หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนนั้น หากมีแมลงบินเข้าใกล้ก็จะถูกดูดให้ตกลงไปในถุง แมลงที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้ หรืออาจติดตั้งชุดแสงไฟล่อแมลงไว้กลางบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้แมลงตกลงไปในบ่อปลาโดยตรงเลยก็ได้

ดังนั้น กรมโยธาธิการจึงได้ออกแบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อปรับสภาพน้ำเปรี้ยวให้เป็นน้ำจืด ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1,480 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสสลับ 1 เครื่อง เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 เครื่อง ชุดควบคุม 1 ชุด และท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ระยะทาง 50 เมตร 1 ชุด โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สูบน้ำเปรี้ยวที่มีสภาพเป็นกรดจากทางน้ำเปรี้ยว ผ่านท่อพีวีซี ขึ้นไปยังถังซึ่งบรรจุหินปูนคาร์บอเนต ความสูง 15 เมตร น้ำที่ไหลผ่านหินปูนจะมีค่า pH เพื่อขึ้น และเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำจืด แล้วจึงไหลผ่านท่อด้วยแรงโน้มถ่วงไปยังแปลงเกษตร

ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์นี้นอกจากจะมีประโยชน์ในการบำบัดน้ำเปรี้ยวแล้ว ในช่วงที่ไม่ได้ใช้กระแสไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำ ยังใช้กระแสไฟฟ้ากับแสงสว่างได้ อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่สามารถขยายผลไปสู่พื้นที่พรุที่ยังไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้าเข้าถึงได้อีกด้วย

ปรับปรุงกังหันลมสูบน้ำ จำนวน 4 เครื่อง และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดระบบบันทึกข้อมูล โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (สนับสนุนโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)

สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ติดตั้งระบบกังหันลมสูบน้ำที่ผลิตภายในประเทศ เพื่อเป็นการทดลองประสิทธิภาพและตรวจวัดศักยภาพจำนวน 4 ระบบ ขึ้นที่บ้านตอหลัง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แต่ปัจจุบัน กังหันลมสูบน้ำมีสภาพชำรุดและไม่ได้ใช้งาน โครงการฯ จึงดำเนินการปรับปรุงระบบกังหันลมดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้เต็มที่

เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลของระบบสูบน้ำด้วยกังหันลมมีความทันสมัย ชัดเจน และต่อเนื่องตลอดเวลา โครงการฯ จึงได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดอัตราการไหลของน้ำแบบใช้รังสีอินฟราเรดซึ่งไม่ต้องตัดท่อน้ำ และอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอัตโนมัติ ซึ่งจะบันทึกข้อมูลอัตราการสูบน้ำความเร็วลม และทิศทางลงในแผ่นบันทึกข้อมูลเพื่อความสะดวกในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่ง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่งนี้ติดตั้งที่อาคารสำนักงาน ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2,100 วัตต์ อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด และวัตต์มิเตอร์แสดงผลการผลิตไฟฟ้า 1 ชุด

ในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากการออกแบบระบบจะให้ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดแรงดัน 220-240 โวลต์ และกระแสไฟฟ้า 6-8 แอมแปร์ ไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จะไหลผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดัน 220 โวลต์ และมีคุณสมบัติเหมือนกับกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบนี้จึงสามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ทุกชนิด โดยในกรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในขณะนั้น กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกขายคืนเข้าในระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ในทางกลับกันหากความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในขณะนั้นมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้กระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดก็จะถูกซื้อเสริมเข้ามาจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ตามปกติ ซึ่งการทำงานของระบบได้รับการออกแบบให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติดังนั้นจึงไม่ต้องมีการปิด-เปิดระบบแต่อย่างใดในแต่ละวัน

ผลจากการติดตั้งระบบ ทำให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ซื้อจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ลดลงเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเท่ากับว่าจะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงบรรพชีวิน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ในการผลิตกระแสไฟฟ้าลง อันจะส่งผลให้มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดังกล่าวลดลงได้อีกทางหนึ่ง

ขยายขอบเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ดำเนินโครงการขยายเขต ระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านยูโยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอตากใน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีบ้านเรือนราษฎร 213 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 1,116 คน เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถทำการเกษตรได้ในพื้นที่ดูแลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันสูง 1 เฟส 19 กิโลโวลต์ เป็นระยะทาง 4.4 กิโลเมตร และระบบจำหน่ายแรงดันต่ำเป็นระยะทาง 4.7 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งหม้อแปลง ขนาด 30 กิโลโวลต์แอมแปร์ จำนวน 3 เครื่อง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,299,836 บาท แบ่งเป็นงบประมาณจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 710,779 บาท และจากสำนักงาน กปร. 1,589,057 บาท

เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด

เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด ถังสกัดสารไส้กรอง ท่อน้ำเข้าถังและท่อน้ำเข้าแผง วาล์วเช็คระดับน้ำ ขารับแผงและถัง เป็นอุปกรณ์ที่นำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาใช้ ประโยชน์ในการต้มสกัดสารชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้ หอม สะเดา ข่า และอื่นๆ โดยการทำงานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจะถูกดูดซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ ทำให้น้ำร้อนและลอยตัวขึ้นที่สูงแล้วไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนเข้าสู่ถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้มซึ่งใส่สมุนไพรไว้ ขณะเดียวกันน้ำส่วนล่างของหม้อต้มก็จะไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนด้านตรงข้ามเข้าสู่แผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับพลังงานความร้อนจากแผงเป็นวัฏจักรเรียกว่า ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ น้ำในหม้อต้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาวันละ 6-8 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำสารสกัดจากพืชสมุนไพร 75-100 ลิตรต่อวัน เมื่อปล่อยให้เย็นก็สามารถนำน้ำสารสกัดไปฉีดพ่นพืชผักผลไม้ได้ทันที เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่จะมาทำลาย

ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสเป็นเครื่องฟอกน้ำจืด น้ำกร่อย หรือ น้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดบริสุทธิ์ โดยมีหลักในการทำงาน คือ ใช้เยื่อเมมเบรน (membrane) ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ คล้ายแผ่นกระดาษแต่มีเนื้อละเอียดถึง 0.0001 ไมครอน ทำให้โมเลกุลของสารละลายในน้ำไม่สามารถลอดผ่านไปได้ โดยเยื้อเมมเบรนจะทำงานควบคู่กับเครื่องสูบน้ำแรงดันสูงที่ทำหน้าที่ผลักดันน้ำดิบให้ผ่านเยื่อเมมเบรนเครื่องสูบน้ำดังกล่าวทำงานด้วยไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์

ระบบที่นำมาติดตั้งนี้ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 60 วัตต์ แบตเตอรี่ขนาด 624 วัตต์ต่อชั่วโมง ชุดควบคุม และเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง โดยการทำงานจะเริ่มจากการเปิดวาล์วให้น้ำดิบเข้าสู่ระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะเดินเครื่องสูบน้ำให้ทำงานเพื่อเพิ่มความดันให้น้ำดิบ อัดน้ำผ่านส่วนไส้กรองคาร์บอนทั้งชนิดเม็ดและชนิดผง ส่วนเยื่อกรองเมมเบรน และส่วนไส้กรองคาร์บอนอันสุดท้ายจนได้เป็นน้ำบริสุทธิ์

ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท สยามโซลาร์ แอนด์ อีเลคทรอนิคส์ จำกัด

แต่เดิมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ยังไม่มีเครื่องล่อแมลงที่จะใช้กำจัดแมลงบางชนิดที่เป็นศูนย์พืช จึงได้นำชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งภายในบริเวณศูนย์ฯ อุปกรณ์ชนิดนี้ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 1 แผง หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 6 วัตต์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 4 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก เซนเซอร์วัดความสว่าง 1 ชุด ชุดตั้งเวลาการทำงานของหลอดไฟกับพัดลม 1 ชุด พัดลมขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่องชุดแสดงผลความจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ถุงผ้าดักแมลง 1 ถุง และขาตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ 1 ชุด

เซลล์แสงอาทิตย์จะประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน เซนเซอร์วัดความสว่างจะสั่งให้หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพราะโดยปกติแมลงจะออกมาเล่นไฟประมาณ 2 ชั่วโมง โดยในขณะที่หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนนั้น หากมีแมลงบินเข้าใกล้ก็จะถูกดูดให้ตกลงไปในถุง และแมลงที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้ นอกจากนี้ ชุดแสงไฟล่อแมลงยังสามารถติดตั้งไว้กลางบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้แมลงตกลงไปในบ่อปลาโดยตรงได้ด้วย

ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร

ลักษณะบ่อผลิตก๊าซชีวภาพเป็นบ่อแบบโดมคงที่ขนาด 8 ลูกบาศก์เมตร โดยใช้วัตถุดิบที่ใช้ในการหมักเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพนั้น ใช้มูลจากคอกโคนมสาธิตจำนวน 6 ตัว สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณวันละ 3-5 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งพอเพียงที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานในการต้มนมแพะและโคนมที่ผลิตได้ภายในศูนย์ฯ ใช้เป็นพลังงานในการกกลูกไก่และลูกเป็ด ทำให้ประหยัดพลังงานก๊าซหุงต้มเดือนละ 2 ถัง (ขนาด 15 กิโลกรัม) ส่วนพลังงานที่เหลือทางศูนย์ฯ จะเดินท่อก๊าซไปบ้านพักคนงานบริเวณโดยรอบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

  1. ส่วนเซนเซอร์หรือไพรานอมิเตอร์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคคอนขนาด 1 ตารางเซนติเมตร และขั้วของเซลล์และอาทิตย์
  2. ส่วนอินติเกรตสัญญาณ ทำหน้าที่แสดงผลและอินติเกรตค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เป็นพลังงาน

ประโยชน์ของเครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ คือสามารถวัดค่าพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งทำให้ทราบประสิทธิภาพการทำงานของระบบพลังงานทดแทนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคตได้

มุ้งแอร์สุขภาพรุ่นประหยัดพลังงาน โดยนายศฤงคาร รัตนางศุ (สมาคมการประดิษฐ์ไทย)

เมุ้งติดแอร์ ประกอบด้วยโครงเหล็กขนาดเล็กแบบถอดประกอยได้ มีหลังคาทรงโค้งคล้ายทรงโดมและมีทางเข้าออก โดยตัวมุ้งผลิตจากผ้าชนิดพิเศษและมีน้ำหนักเบาเป็นลักษณะ 2 ชั้น ชั้นนอกโปร่งและชั้นในทึบเพื่อเป็นฉนวนความร้อน โดยมีช่องแอร์สำหรับต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กที่มีระบบฟอกอากาศ ด้านหน้าพ่นลมเย็น ด้านหลังพ่นลมร้อนซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องทำความอุ่นให้กับมุ้งติดแอร์ได้ เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กนี้สามารถนำมาใช้ทดแทนพัดลมซึ่งให้ลมเย็นกว่าพัดลมไอน้ำ และเนื่องจากเป็นเครื่องปรับอากาศเล็กจึงสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยมาก

ระบบเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด

ระบบประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6 วัตต์ 12 โวลต์ 0.3 แอมแปร์ จำนวน 1 แผง แบตเตอรี่แบบ sealed lead acid ขนาด 12 โวลต์ 0.7 แอมแปร์ จำนวน 1 ลูก และเครื่องขยายเสียง พร้อมไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สาย จำนวน 1 ชุด ชุดเครื่องขยายเสียงถูกดัดแปลงให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ มีขนาดกำลังขยาย 50 วัตต์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สายซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 0.5 แอมแปร์ และสามารถใช้งานติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อวัน เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคสนามและเลือกใช้ตามความเหมาะสมได้อีกด้วย


คุณชัยวัฒน์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ให้สัมภาษณ์ถึงสภาพการใช้งานและประโยชน์ที่ได้รับจากระบบพลังงานทดแทนที่โครงการฯ นำมาติดตั้งในพื้นที่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

สภาพการใช้พลังงานที่มีอยู่เดิมภายในพื้นที่

คุณชัยวัฒน์ : "สำหรับการใช้พลังงานทดแทนที่ภาคใต้ถือว่ามีค่อนข้างน้อยกว่าที่อื่น อาจจะเป็นเพราะคนที่มียังไม่ค่อยกระตือรือร้น ไม่ค่อยสนใจ หรืออาจจะเป็นเพราะยังไม่มีข้อมูล ไม่มีความรู้ก็ได้ แต่สำหรับผมคิดว่าน่าสนใจและน่าจะนำมาใช้ เพราะอย่างพลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่นี่ก็มีความเหมาะสมแต่ก็ยังมีการใช้น้อยมาก ส่วนพลังงานอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะใช้มากสำหรับที่นี่ก็คือน้ำ เพราะที่นี่มีน้ำเยอะ มีน้ำเหลือเฟือเลย เราก็น่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับการนำน้ำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่นด้วยเหมือนกัน

ผลที่ได้รับจากการนำพลังงานทดแทนมาใช้ภายในศูนย์ฯ

คุณชัยวัฒน์ : "สำหรับกังหันลม ผมพูดตรงๆ ว่ากังหันลมที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ค่อยได้ผลดีนัก เพราะว่าระบบมันจะใช้ได้ดีในช่วงแรกๆ แต่พอสักระยะหนึ่งมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานที่สั้น ถ้ามีการพัฒนาให้กังหันลมมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ก็น่าจะใช้ได้ดี หรืออย่างระบบบำบัดน้ำเปรี้ยวที่แต่เดิมเราใช้ไฟฟ้าก็มีการนำระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใช้แทน แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ตรงที่ต้องใช้คนไปเปิดปิดจึงไม่ค่อยสะดวก ซึ่งหากมีการเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ในแบตเตอรี่และมีระบบเปิดปิดด้วยก็จะทำให้ไม่ต้องใช้คนมากเท่านี้

"ส่วนพลังงานก๊าซชีวภาพ สำหรับภาคใต้นี่ถือว่าเป็นพลังงานที่เหมาะสมและดีมากเลยทีเดียว เพราะข้อเท็จจริงแล้วในภาคใต้นี้ ครอบครัวเกษตรกรทุกครอบครัวมักจะต้องเลี้ยงวัว เลี้ยงสัตว์ เขาเลี้ยงวัวกันทุกบ้าน พลังงานก๊าซชีวภาพจึงเป็นระบบที่เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่นี่เป็นอย่างดี"

ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนำพลังงานทดแทนมาติดตั้งในศูนย์ฯ

คุณชัยวัฒน์ : "สำหรับการใช้พลังงานทดแทนที่ภาคใต้ถือว่ามีค่อนข้างน้อยกว่าที่อื่น อาจจะเป็นเพราะคนที่มียังไม่ค่อยกระตือรือร้น ไม่ค่อยสนใจ หรืออาจจะเป็นเพราะยังไม่มีข้อมูล ไม่มีความรู้ก็ได้ แต่สำหรับผมคิดว่าน่าสนใจและน่าจะนำมาใช้ เพราะอย่างพลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่นี่ก็มีความเหมาะสมแต่ก็ยังมีการใช้น้อยมาก ส่วนพลังงานอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะใช้มากสำหรับที่นี่ก็คือน้ำ เพราะที่นี่มีน้ำเยอะ มีน้ำเหลือเฟือเลย เราก็น่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับการนำน้ำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่นด้วยเหมือนกัน

คุณชัยวัฒน์ : "การนำพลังงานทดแทนมาติดตั้งที่ศูนย์ฯ นี่ ผมว่าน่าจะได้ผลดีมาก เพราะว่าศูนย์ฯ ที่นี่มีคนมาเที่ยวมาดูมาก เมื่อมีคนมาดูงานและเห็นว่าเรามีการใช้พลังงานทดแทน ก็จะเป็นแรงผลักดันให้เขาอยากจะหาพลังงานทดแทนมาใช้บ้าง หรืออาจจะส่งผลให้เกิดความคิดที่จะช่วยกันประหยัดพลังงาน การติดตั้งระบบพลังงานทดแทนที่ศูนย์ฯ นอกจากจะเป็นตัวอย่างให้คนได้เห็นแล้ว ยังช่วยให้เกิดแนวคิดด้านการประหยัดพลังงานอีกด้วย

"ซึ่งผมว่าเราทุกคนน่าจะตระหนักถึงเรื่องการประหยัดพลังงานให้มากขึ้น แล้วก็น่าจะมีการศึกษาเพื่อหาหนทางพัฒนาพลังงานทดแทนใช้ให้ได้ประโยชน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน หรือก๊าซชีวภาพจะต้องมีการศึกษาหาวิธีการใช้ประโยชน์ต่อไป รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องพลังงานทดแทนแก่คนทั่วไปก็ควรจะทำด้วย เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและการประหยัดพลังงานของประเทศในอนาคต"


ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย