โครงการนำพลังงานทดแทนไปใช้งานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ


ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยกรมทรัพยากรธรณี (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)

ด้วยสาเหตุที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ขาดแคลนน้ำจืดสำหรับใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคภายในศูนย์ฯ ซึ่งน้ำที่ใช้ในปัจจุบันได้จากการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากคลองชลประทานที่อยู่ห่างไป 9 กิโลเมตร โดยใช้เครื่องสูบน้ำด้วยมอเตอร์ขนาด 50 แรงม้า สูบผ่านท่อน้ำซีเมนต์ไปเก็บไว้ในถังขนาด 400 ลูกบาศก์เมตรแต่น้ำที่สูบนี้มีความเป็นกรดสูงมาก ทำให้เกิดการกัดกร่อนท่อส่งน้ำจนทำให้บางบริเวณมีการรั่วซึม น้ำที่สูบได้จึงต้องผ่านระบบบำบัดน้ำและระบบกรองเสียก่อน จากนั้นก็ใช้เครื่องสูบน้ำมอเตอร์ขนาด 5.5 แรงม้า สูบน้ำจากถังพักน้ำ (ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง) ขึ้นไปเก็บไว้ในหอถังสูง 26 เมตร ความจุ 150 ลูกบาศก์เมตร แล้วจึงจ่ายน้ำให้อาคารต่างๆ ต่อไป

กรมทรัพยาการธรณีจึงติดตั้งระบบสูบน้ำบาดาลด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1,540 วัตต์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มมอเตอร์กระแสสลับขนาด 2 แรงม้า จำนวน 1 เครื่อง ถังเก็บน้ำหอถังสูง 12 เมตร ความจุ 12 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ถัง ถังกรองสนิมเหล็ก 1 ถัง และระบบท่อส่งน้ำประปาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ในเวลากลางวันเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สูบน้ำได้ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (หรือ 9,010 ลูกบาศก์เมตรต่อปี) ไปเก็บไว้ในหอทังสูง ในส่วนของการใช้น้ำจะปล่อยน้ำจากถังสูงผ่านถังกรองสนิมและส่งเข้าท่อส่งน้ำโดยใช้แรงโน้มถ่วง ซึ่งน้ำที่ได้นี้เป็นน้ำคุณภาพดีสามารถใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่ง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)

จระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่อสายส่งนี้ติดตั้ง ที่อาคารหน่วยตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบสัตว์น้ำ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2,100 วัตต์ อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 1 ชุด และวัตต์มิเตอร์แสดงผลการผลิตไฟฟ้า 1 ชุด

ในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง จากการออกแบบระบบจะให้ไฟฟ้ากระแสตรง ขนาดแรงดัน 200-240 โวลต์ และกระแสไฟฟ้า 6-8 แอมแปร์ ไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จะไหลผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ที่มีแรงดัน 220 โวลต์ และมีคุณสมบัติเหมือนกับกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบนี้จึงสามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ทุกชนิด โดยในกรณีที่กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีมากกว่าความต้องการไฟฟ้าในขณะนั้น กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกขายคืนเข้าในระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ในทางกลับกันหากความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในขณะนั้นมีมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ กระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดก็จะถูกซื้อเสริมเข้ามาจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ ตามปกติ ซึ่งการทำงานของระบบได้รับการออกแบบให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการปิด- เปิดระบบแต่อย่างใดในแต่ละวัน

ผลจากการติดตั้งระบบ ทำให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ซื้อจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ - ลดลงเท่ากับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเท่ากับว่าจะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงบรรพชีวิน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ในการผลิตกระแสไฟฟ้าลง อันจะส่งผลให้มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดังกล่าวลดลงได้อีกทางหนึ่ง

ระบบเติมอากาศลงบ่ออนุบาลปลาด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด

เนื่องจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ มีกิจกรรมสำคัญในด้านการประมง จึงมีบ่ออนุบาลเพาะเลี้ยงปลาจำนวนมาก และมีการใช้เครื่องแอร์คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ สำหรับเป่าลมลงบ่ออนุบาลปลาด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้ง โดยใช้เครื่องเติมอากาศ 2 ชุด ที่ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยมากและลงทุนต่ำ เพื่อเป็นการสาธิตให้ผู้สนใจได้ศึกษาเพื่อนำระบบดังกล่าวไปใช้งาน

ระบบเติมอากาศลงบ่ออนุบาลปลาประกอบด้วย ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอนขนาด 64 วัตต์ จำนวน 2 แผง อุปกรณ์ควบคุม 2 ชุด เครื่องเติมอากาศ 4 เครื่อง แบตเตอรี่ 50 แอมแปร์ชั่วโมง 2 ลูก และท่อส่งลมและหัวสร้างฟองอากาศ ระบบจะทำงานในเวลากลางวันโดยเซลล์แสงอาทิตย์ประจุกระแสไฟฟ้าให้แบตเตอรี่จากนั้นแบบเตอรี่ก็จ่ายไฟฟ้าให้เครื่องเติมอากาศซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 0.3 แอมแปร์ต่อเครื่อง และทำให้เครื่องเติมอากาศทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ต่อจากเครื่องเติมอากาศเป็นท่อส่งลมลงบ่ออนุบาลสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ 1 แผง สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เครื่องเติมอากาศได้ 2 เครื่อง และเครื่องเติมอากาศ 1 เครื่อง สามารถจ่ายลมได้ประมาณ 4 หัว ระบบนี้เหมาะกับบ่ออนุบาลขนาดประมาณ 1-4 ตารางเมตร

ชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท สยามโซลาร์ แอนด์ อีเลคทรอนิคส์ จำกัด

โครงการฯ ได้นำชุดแสงไฟล่อแมลงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 10 วัตต์ จำนวน 1 แผง หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 6 วัตต์ จำนวน 1 ชุด แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 4 แอมแปร์ชั่วโมง จำนวน 1 ลูก เซนเซอร์วัดความสว่าง 1 ชุด ชุดตั้งเวลาการทำงานของหลอดไฟกับพัดลม 1 ชุด พัดลมขนาด 2 นิ้ว 1 เครื่อง ชุดแสดงผลความจุแบตเตอรี่ 1 ชุด ถุงผ้าดักแมลง 1 ถุง และขาตั้งแบบเคลื่อนย้ายได้ 1 ชุด

ลักษณะการทำงานของระบบ เซลล์แสงอาทิตย์จะประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ตกดินเซนเซอร์วัดความสว่างจะสั่งให้หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นหลอดไฟและพัดลมจะหยุดทำงาน เพราะโดยปกติแมลงจะออกมาเล่นไฟประมาณ 2 ชั่วโมง ในขณะที่หลอดไฟสว่างและพัดลมหมุนนั้น หากมีแมลงบินเข้าใกล้ก็จะถูกดูดให้ตกลงไปในถุง แมลงที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้ หรืออาจติดตั้งชุดแสงไฟล่อแมลงไว้กลางบ่อเลี้ยงปลาเพื่อให้แมลงตกลงไปในบ่อปลาโดยตรงเลยก็ได้

เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการนำพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ มาใช้ประโยชน์ในการต้มสกัดสารชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้ หอม สะเดา ข่า เป็นต้น อุปกรณ์นี้ประกอบด้วยแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ ถังสกัดสาร ไส้กรอง ท่อทำเข้าถังและเข้าแผง วาล์วเช็คระดับน้ำ และขาตั้งรองรับแผงและถังสกัดสาร

การทำงานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ ซึ่งถูกออกแบบการวางให้ด้านหนึ่งเอียงขึ้น เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ พลังงานความร้อนจะถูกดูดซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ เมื่อน้ำเริ่มร้อนก็จะเกิดการเคลื่อนที่ขึ้นไปยังด้านบนของแผงผ่านไปตามท่อหุ้มฉนวนเข้าไปทางด้านบนของถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้มซึ่งใส่สมุนไพรไว้ ทำให้น้ำที่อยู่ส่วนล่างของหม้อต้มก็จะไหลผ่านท่อหุ้มฉนวนเข้าไปในระบบทางอีกด้านหนึ่งของแผง การไหลเวียนของน้ำนี้จะเป็น ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ (thermosyphon system) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่แผงได้รับแสงอาทิตย์ จึงทำให้น้ำในหม้อต้มมีอุณหภูมิสู่ขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 90 องศาเซลเซียส ทำให้สารสกัดชีวภาพในพืชสมุนไพรถูกสกัดออกมาละลายอยู่ในน้ำ ในแต่ละวันการสกัดจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง ทำให้เกษตรกรมีน้ำสารสกัดไว้ใช้งานได้วันละ 75-100 ลิตร ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและลดภาระการต้มสกัดสารได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การใช้สารสกัดชีวภาพฉีดพ่นพืชผักแทนการใช้ยาปราบศัตรูพืชที่เป็นสารเคมี ยังให้ความปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการนำเข้ายาปราบศัตรูพืชจากต่างประเทศอีกด้วย

ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิลทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ชุดกรองน้ำดื่มระบบรีเวิร์สออสโมซิสเป็นเครื่องฟอกน้ำจืด น้ำกร่อย หรือ น้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดบริสุทธิ์ โดยมีหลักในการทำงาน คือ ใช้เยื่อเมมเบรน (membrane) ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ คล้ายแผ่นกระดาษแต่มีเนื้อละเอียดถึง 0.0001 ไม่ครอน ทำให้โมเลกุลของสารละลายในน้ำไม่สามารถลอดผ่านไปได้ โดยเยื้อเมมเบรนจะทำงานควบคู่กับเครื่องสูบน้ำแรงดันสูงที่ทำหน้าที่ผลักดันน้ำดิบให้ผ่านเยื่อเมมเบรนเครื่องสูบน้ำดังกล่าวทำงานด้วยไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์

ระบบที่นำมาติดตั้งนี้ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 60 วัตต์ แบตเตอรี่ขนาด 624 วัตต์ต่อชั่วโมง ชุดควบคุม และเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง โดยการทำงานจะเริ่มจากการเปิดวาล์วให้น้ำดิบเข้าสู่ระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะเดินเครื่องสูบน้ำให้ทำงานเพื่อเพิ่มความดันให้น้ำดิบ อัดน้ำผ่านส่วนไส้กรองคาร์บอนทั้งชนิดเม็ดและชนิดผง ส่วนเยื่อกรองเมมเบรน และส่วนไส้กรองคาร์บอนอันสุดท้านจนได้เป็นน้ำบริสุทธิ์

เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เครื่องสกัดสารกำจัดศัตรูพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด ถังสกัดสารไส้กรอง ท่อน้ำเข้าถังและท่อน้ำเข้าแผง วาล์วเช็คระดับน้ำขารับแผงและถัง เป็นอุปกรณ์ที่นำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาใช้ ประโยชน์ในการต้มสกัดสารชีวภาพ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้ หอม สะเดา ข่า และอื่นๆ โดยการทำงานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงรับแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจะถูกดูดซับและส่งถ่ายความร้อนให้กับน้ำที่อยู่ในระบบ ทำให้น้ำร้อนและลอยตัวขึ้นที่สูงแล้วไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนเข้าสู่ถังสกัดสารกำจัดศัตรูพืชหรือหม้อต้มซึ่งใส่สมุนไพรไว้ ขณะเดียวกันน้ำส่วนล่างของหม้อต้มก็จะไหลไปตามท่อหุ้มฉนวนด้านตรงข้ามเข้าสู่แผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับพลังงานความร้อนจากแผงเป็นวัฏจักรเรียกว่า ระบบไหลเวียนตามธรรมชาติ น้ำในหม้อต้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 90 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาวันละ 6-8 ชั่วโมง ก็จะได้น้ำสารสกัดจากพืชสมุนไพร 75-100 ลิตรต่อวัน เมื่อปล่อยให้เย็นก็สามารถนำน้ำสารสกัดไปฉีดพ่นพืชผักผลไม้ได้ทันที เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่จะมาทำลาย

ระบบเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด

เครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

  1. ส่วนเซนเซอร์หรือไพรานอมิเตอร์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคคอนขนาด 1 ตารางเซนติเมตร และขั้วของเซลล์และอาทิตย์
  2. ส่วนอินติเกรตสัญญาณ ทำหน้าที่แสดงผลและอินติเกรตค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เป็นพลังงาน

ประโยชน์ของเครื่องวัดพลังงานแสงอาทิตย์ คือสามารถวัดค่าพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งทำให้ทราบประสิทธิภาพการทำงานของระบบพลังงานทดแทนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ในอนาคตได้

มุ้งแอร์สุขภาพรุ่นประหยัดพลังงาน โดยนายศฤงคาร รัตนางศุ (สมาคมการประดิษฐ์ไทย)

มุ้งติดแอร์ ประกอบด้วยโครงเหล็กขนาดเล็กแบบถอดประกอยได้ มีหลังคาทรงโค้งคล้ายทรงโดมและมีทางเข้าออก โดยตัวมุ้งผลิตจากผ้าชนิดพิเศษและมีน้ำหนักเบาเป็นลักษณะ 2 ชั้น ชั้นนอกโปร่งและชั้นในทึบเพื่อเป็นฉนวนความร้อน โดยมีช่องแอร์สำหรับต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กที่มีระบบฟอกอากาศ ด้านหน้าพ่นลมเย็น ด้านหลังพ่นลมร้อนซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องทำความอุ่นให้กับมุ้งติดแอร์ได้ เครื่องปรับอากาศเคลื่อนที่ขนาดเล็กนี้สามารถนำมาใช้ทดแทนพัดลมซึ่งให้ลมเย็นกว่าพัดลมไอน้ำ และเนื่องจากเป็นเครื่องปรับอากาศเล็กจึงสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าน้อยมาก ภายหลังจากที่โครงการฯ นำระบบพลังงานทดแทนติดตั้งที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คุณเกรียงศักดิ์ หงษ์โต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ดังนี้

ระบบเครื่องขยายเสียงพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด

ระบบประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6 วัตต์ 12 โวลต์ 0.3 แอมแปร์ จำนวน 1 แผง แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 7 แอมแปร์ จำนวน 1 ลูก และเครื่องขยายเสียง พร้อมไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สาย จำนวน 1 ชุด ชุดเครื่องขยายเสียงถูกดัดแปลงให้สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ มีขนาดกำลังขยาย 50 วัตต์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งไมโครโฟนแบบมีสายและแบบไร้สายซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 0.5 แอมแปร์ และสามารถใช้งานติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อวัน เหมาะกับการใช้งานภาคสนามและเลือกใช้ตามความเหมาะสมได้อีกด้วย


คุณวิเชียร สาคเรศ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงระบบพลังงานทดแทนที่โครงการฯ นำไปติดตั้งที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ไว้ ดังนี้

การนำพลังงานทดแทนมาติดตั้งที่ศูนย์ฯ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง

คุณวิเชียร : "ปัจจุบัน ศูนย์ฯ เราใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก และต้องเสียค่าไฟฟ้ามากถึงเดือนละประมาณสองแสนบาท การนำพลังงานทดแทนมาใช้ก็ช่วยให้เราลดค่าใช้จ่ายด้านกระแสไฟฟ้าที่ต้องเสียลงไป อย่างเช่น ในกรณีที่ทางโครงการฯ มาติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ที่ตึกบริการประชาชน ซึ่งเป็นตึกที่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์จำนวนมาก และมีประชาชนมาใช้บริการที่ตึกนี้ทุกวัน ประมาณวันละ 10-50 ราย เพื่อนำสัตว์น้ำมาตรวจ ก็คือเป็นคลินิกสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังเป็นแล็ปที่ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้กับบ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา หรือบ่อเลี้ยงตะพาบน้ำของราษฎร ตรวจดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสที่ทำให้กุ้งเป็นโรค ตรวจยาตกค้างในเนื้อกุ้ง ตึกนี้จึงใช้ไฟฟ้าค่อนข้างมากโดยเป็นไฟฟ้าที่รับจากระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ การนำระบบเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าของศูนย์ฯ ลงไปได้

"ส่วนการใช้พลังงานลมเพื่อสูบน้ำของงานเกษตรนี่ ประโยชน์ก็ค่อนข้างชัดเจน เพราะถ้าไม่เช่นนั้นเราต้องใช้ไฟฟ้าสูบน้ำมาใช้กับพืชทั้งหมด การใช้พลังงานลมทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าลงไปเยอะซึ่งความจริงที่ศูนย์ฯ เราใช้กังหันลมมานานแล้ว แต่ระบบยังไม่ค่อยดี แล้วก็ไม่มีการซ่อมแซมดูแลอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการใช้งานเท่าไร"

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการขยายผลของโครงการพลังงานทดแทนไปสู่ประชาชนในวงกว้าง

คุณวิเชียร : "การขยายผลของระบบพลังงานทดแทนไปสู่ราษฎรในพื้นที่ที่นี่ก็จะเป็นไปได้ เพราะอย่างบริเวณนากุ้งของราษฎร ทุกคนจะต้องใช้เครื่องยนต์ในการตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน หรือไม่อย่างนั้นบางคนก็ใช้ไฟฟ้าในการเดินมอเตอร์หมุนเครื่องตีน้ำ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง แล้วนากุ้งนี้อยู่ในที่โล่งจึงสามารถใช้พลังงานทดแทนต่างๆ ได้ง่าย ก็น่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าได้เยอะ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในนากุ้งนี่เป็นค่าไฟระดับปกติ ไม่ได้ถูกตีเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อเกษตร ค่าไฟก็จะถูกกว่า ดังนั้น ถ้ามีการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่ทำนากุ้งได้"

ศูนย์ฯ จะมีบทบาทต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องพลังงานทดแทนไปสู่ประชาชนอย่างไรบ้าง

คุณวิเชียร : "ระบบพลังงานทดแทนส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้ที่ศูนย์ฯ เพราะเราอยากแสดงให้ประชาชนเห็นว่า สามารถประหยัดพลังงานได้ด้วยวิธีใดบ้าง ด้วยการใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ แทนการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะตึกที่ให้บริการประชาชนอย่างที่กล่าวไปแล้วนี่ มีคนมาใช้บริการปีละประมาณเก้าพันราย ส่วนประชาชนทั่วไปเข้ามาดูงานในศูนย์ฯ อีกปีละหมื่นกว่าคน ก็จะได้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนจากการใช้งานภายในศูนย์ฯ ว่า พลังงานทดแทนช่วยประหยัดไฟฟ้าและประหยัดค่าน้ำมันได้จริง"


ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย