• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ติดต่อเรา
    • ผังเว็บไซต์
    • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
      • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
      • การบริหารงานด้าน ICT
      • ข่าวสารจากซีไอโอ
      • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)
      • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
      • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
      • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
      • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
    • การติดตามและประเมินผล
      • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
      • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
      • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
      • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
      • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • การดำเนินงานตามมติ กพช.
    • ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • สหประชาชาติ
        • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
        • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • Joint Implementation (JI)
          • Emission Trading (ET)
          • Clean Development Mechanism (CDM)
          • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan
          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
        • Concun Agreement
      • ประเทศไทย
        • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
        • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
        • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
        • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
        • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
        • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
      • กระทรวงพลังงาน
        • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
        • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
        • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
        • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)
      • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
      • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้
      • เอกสารเผยแพร่
      • หนังสือ
      • สาระน่ารู้
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การพัฒนาระบบบริหาร
      • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
      • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
      • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
      • การควบคุมภายใน
      • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
      • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
      • แผนปฏิรูปองค์การ
      • ITA
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • แผนบริหารความต่อเนื่อง
    • แผนแม่บท ICT สนพ.
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง
      • งบประมาณ
      • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้
      • เอกสารเผยแพร่
      • หนังสือ
      • สาระน่ารู้
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
บริการข้อมูลข่าวสาร ข่าวพลังงาน
Subscribe to this RSS feed
วันศุกร์, 28 กุมภาพันธ์ 2563 10:59

สรุปข่าวพลังงาน 28 ก.พ. 2563

ข่าว : 'พลังงาน' หวั่นโควิด ฉุดยอดใช้น้ำมันปี63
        นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สถิติความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเดือน ม.ค. 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 กลุ่มเบนซินการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 31.8 ล้านลิตร ต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ 64.1 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.5% ขณะที่การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 22.1 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3.0% เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่
        ด้านนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง (สกนช.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ที่มีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน วานนี้ (27 ก.พ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับกลุ่มดีเซล โดยเรียกเก็บเงินส่งเข้ากองทุนฯ ในส่วนของดีเซล บี7 เพิ่ม 75 สตางค์ต่อลิตร เป็น 1 บาทต่อลิตร จากเดิม 25 สตางค์ต่อลิตร ส่วนดีเซล บี10 ชดเชยเพิ่ม 50 สตางค์ต่อลิตร เป็นชดเชย 2.50 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชย 2 บาทต่อลิตร และดีเซล บี20 ชดเชยเพิ่ม 50 สตางค์ต่อลิตร เป็นชดเชย 4.41 บาทต่อลิตร จากเดิมชดเชย 3.91 บาท ต่อลิตร ส่งผลให้เกิดส่วนต่างราคาขายปลีก ระหว่างดีเซล บี10 ถูกว่าดีเซล บี7 อยู่ที่ 3 บาทต่อลิตร จากเดิม 2 บาทต่อลิตร และ ดีเซล บี20 จะถูกกว่าดีเซล บี7 อยู่ที่ 3.50 บาท ต่อลิตร จากเดิม 3 บาทต่อลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันนี้ (28 ก.พ.) เป็นต้นไป ซึ่งมติดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2563 ที่เห็นชอบให้ขยายส่วนต่างราคาขายปลีก เพื่อจูงใจ ให้เกิดการใช้ดีเซล บี10 และดีเซล บี20 มากขึ้น ตามนโยบายส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลของกระทรวงพลังงาน ที่กำหนดให้ทุกสถานีบริการ (ปั๊ม) น้ำมันทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.นี้ ต้องมีดีเซล บี10 จำหน่าย
        ทั้งนี้ ตามมติดังกล่าวจะส่งให้สภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯ เปลี่ยนไป โดยบัญชีน้ำมันจะมีเงินไหลออกเพิ่มเป็น 819 ล้านบาทต่อเดือน จากวันที่ 26 ก.พ.2563 มีเงินไหลออก 413 ล้านบาทต่อเดือน และเมื่อรวมกับบัญชีแอลพีจีที่มีเงินไหลเข้าอยู่ที่ 32 ล้านบาทต่อเดือน จะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลออกอยู่ที่ 787 ล้านบาทต่อเดือน หรือใช้เงินชดเชยราคาขายปลีกดีเซล บี10 และดีเซล บี20 เพิ่มขึ้นอีก 406 ล้านบาทต่อเดือน จากเดิมชดเชยอยู่ที่ 381 ล้านบาทต่อเดือน
        โดยข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.พ.2563 ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิอยู่ที่ 36,005 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน อยู่ที่ 41,522 ล้านบาท และบัญชีแอลพีจีติดลบอยู่ที่ 5,517 ล้านบาท นอกจากนี้ กบน. ยังเห็นชอบให้ปรับเพิ่มค่าการตลาดของผู้ประกอบการสำหรับดีเซล บี 10 และลดค่าการตลาดสำหรับดีเซล บี 20 และดีเซล บี 7 ลง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการจำหน่ายดีเซล บี10 มากขึ้น ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2563
นายวีระพล กล่าวว่า หลังจากปรับ เพิ่มส่วนต่างราคาขายปลีกดีเซล บี10 และ ดีเซล บี20 แล้ว คาดว่าสิ้นเดือน มี.ค.นี้จะส่งผลให้ยอดการใช้ดีเซล บี10 เพิ่มเป็น 20 ล้านลิตร จากช่วงวันที่ 1-23 ก.พ.2563 มียอดการใช้อยู่ที่ 5.3 ล้านลิต
สื่อหนังสือพิมพ์ : กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, ข่าวหุ้น, เดลินิวส์, แนวหน้า, ผู้จัดการรายวัน 360 องศา, ไทยโพสต์

วันพฤหัสบดี, 27 กุมภาพันธ์ 2563 18:56

สรุปข่าวพลังงาน 27 ก.พ. 2563

ข่าว : เชื่อมท่อน้ำมันไทย - สปป.ลาว
        สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าฯ ขอนแก่น, ภาณุ ศีติสาร ประธานกรรมการ และ พระนาย กังวาลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี (PSTC) ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์คลังน้ำมันและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการพัฒนาคลังน้ำมันขอนแก่นให้ระบบขนส่งน้ำมันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ต.เมืองเพีย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
สื่อหนังสือพิมพ์ : ข่าวสด

วันพุธ, 26 กุมภาพันธ์ 2563 09:55

สรุปข่าวพลังงาน 26 ก.พ. 2563

ข่าว : บี.กริม ลุ้น 'กกพ.' ออกใบอนุญาตนำเข้าก๊าซ มี.ค.นี้
        นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(บอร์ด กกพ.) ในเร็วๆนี้จะพิจารณาการออกใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (LNG Shipper) ให้ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BGRIM คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือน มี.ค.นี้
        ทั้งนี้ การนำเข้า LNG เพิ่มเติม เบื้องต้น มี 2 แนวทาง คือ 1.รอให้สัญญาจัดหาก๊าซฯระยะยาว(สัญญาเก่า) ของ ปตท. ปริมาณ 5.2 ล้านตันต่อปี หมดอายุลง ซึ่งเหลือเวลาอีก10 ปี และ 2.รอให้ปริมาณกำลังการผลิตก๊าซฯในอ่าวไทยลดลง ช่วงปี 2565-2566 ซึ่งเป็นช่วงที่แหล่งเอราวัณและบงกช สิ้นสุดอายุสัมปทานเดิม ทำให้กำลังผลิตก๊าซฯเหลือประมาณ 1,500 จาก2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้ LNG เข้ามาผสมกับก๊าซฯในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนประมาณ 30-40% จากปัจจุบันมีสัดส่วนLNG อยู่ที่ 10-20% ตามช่วงเวลา ดังนั้น จะมีช่องว่างรองรับการนำเข้าLNG ในรูปแบบตลาดจร(Spot)ได้ แต่ก็ต้องพิจารณาเรื่องของดีมานด์และซัพพลายให้เหมาะสมด้วย
        อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2565-2566 เมื่อปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวไทยลดลง ก็จะต้องดำเนินการปรับสูตรค่าความร้อนใหม่ตามข้อกำหนดค่าควบคุมคุณภาพก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่เรียกว่า Wobbe Index (WI) โดย ปตท. ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (TSO) จะต้องเสนอเรื่องการปรับสูตร WI มาที่ กกพ. แม้ว่าปัจจุบัน กฎหมายจะกำหนดให้แยกธุรกิจท่อส่งก๊าซทางบัญชี ออกจากระบบจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติออกจาก ปตท. แต่เป็นเพียงการแยกกิจกรรมในการดำเนินการเท่านั้น ยังไม่ใช่การแยกใบอนุญาตออกมา ฉะนั้นการปรับสูตร WI ใหม่จะเอื้อให้เกิดการนำเข้าLNG ในอนาคตดำเนินการได้ง่ายขึ้น
        แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและ แผนพลังงาน(สนพ.) อยู่ระหว่างพิจารณาปรับนโยบายส่งเสริมกิจการก๊าซฯเสรีใหม่ จากเดิมที่แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ให้การไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ทดลองนำเข้าLNG ,ระยะที่ 2 การคำนวณราคาก๊าซโดยไม่นำมาคำนวณในสูตรตลาดรวม (Pool) และระยะที่ 3 LNG bases หรือ การเปลี่ยนมาใช้ LNG นำเข้าเป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า จากเดิมที่ใช้ก๊าซฯจาก อ่าวไทยเป็นหลัก ซึ่งเบื้องต้นพบว่า หากดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า
        ดังนั้น สนพ. จึงมีแนวคิดที่เปลี่ยน เสนอภาครัฐให้ปรับแนวทางปฏิบัติใหม่ซึ่งอาจเหลือดำเนินการแต่ ระยะที่ 1 และระยะที่ 3 เท่านั้น โดยตัดระยะที่ 2 ออกไป และให้ไปใช้สูตรการคำนวณราคาตลาดรวม(Pool) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้าที่จะส่งผ่านไปสู่ภาคประชาชนในอนาคต
        ทั้งนี้ สนพ. จะประชาพิจารณ์ ก่อนจัดทำเป็นแผนงาน เสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) และ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)อนุมัติต่อไป
สื่อหนังสือพิมพ์ : กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน 360 องศา

วันอังคาร, 25 กุมภาพันธ์ 2563 21:22

สรุปข่าวพลังงาน 25 ก.พ. 2563

ข่าว : 'สนธิรัตน์' ขีดเส้นโซลาร์ฯ สูบน้ำเดิมภายในสิ้น มี.ค.ไม่เสร็จตัดงบฯ ทันที
        "สนธิรัตน์" เดินหน้ารับมือภัยแล้งดึงเงินกองทุนอนุรักษ์ฯงบปี 2563 เดินหน้าโครงการยังคงเดินหน้าโครงการโซลาร์สูบน้ำเพื่อการเกษตรต่อเนื่องแต่จะคุมเข้มให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนดไม่มีต่ออายุเช่นที่ผ่านมา พร้อมขีดเส้นภายในสิ้น มี.ค. นี้โครงการเดิมที่ของบหนุนช่วงปี 61-62 หากไม่เสร็จตัดงบหนุนทันที
สื่อหนังสือพิมพ์ : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา

วันจันทร์, 24 กุมภาพันธ์ 2563 11:20

สรุปข่าวพลังงาน 22-24 ก.พ. 2563

ข่าว : ลุยหั่นราคาดีเซล 'บี 10' ต่ำกว่า บี7 ถึง3บาท
        นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ส่วนกรณีมีสถานีบริการน้ำมันบางแห่งแจ้งลูกค้าว่าจะให้บริการน้ำมันอี 85 จนถึงสิ้นเดือน ก.พ. นั้น ทางกระทรวงพลังงานยืนยันยังไม่มีนโยบายยกเลิกใช้แต่อย่างใด
        โดยช่วงนี้อยู่ระหว่างส่งเสริมการใช้ดีเซลบี 10 แทนบี 7 อย่างเป็นทางการ และภายในปีนี้ก็มีจะผลักดันดีเซลบี 20 ให้เกิดผลสำเร็จก่อนค่อยมาพิจารณาน้ำมันชนิดอื่นต่อไป แต่หากเป็นเรื่องของผู้ค้าน้ำมันก็สามารถลด/เพิ่ม หรือยกเลิกหัวจ่ายน้ำมันบางประเภทในปั๊มตัวเองได้อยู่แล้ว
สื่อหนังสือพิมพ์ : ข่าวสด

วันศุกร์, 21 กุมภาพันธ์ 2563 17:15

สรุปข่าวพลังงาน 21 ก.พ. 2563

ข่าว : กพช. ถกปลดล็อก มี.ค.นี้ แซนด์บ๊อกซ์ซื้อขายไฟ

        นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. เตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในเดือน มี.ค.นี้ พิจารณาแนวทางส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้าเสรี ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เพื่อขอความเห็นชอบการยกเว้นนโยบาย Enhancing Single Buyer ที่กำหนดให้ กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้ารายเดียว ภายในเดือน เม.ย.นี้ โดยให้ดำเนินภายใต้โครงการ ERC Sandbox เพื่อทดสอบระบบการซื้อขายไฟฟ้าเสมือนจริง ซึ่งจะเป็นการติดตามดูพฤติกรรมของผู้บริโภคและประสิทธิภาพของระบบว่าจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
        นอกจากนี้ยังจะเสนอ กพช. พิจารณาแนวทางส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย ด้วยการจัดทำในลักษณะพื้นที่ Sandbox เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและตลาดรถยนต์ EV ซึ่งจะเสนอกำหนดอัตราค่าบริการชาร์จไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันมากขึ้น
        นายคมกฤช เปิดเผยว่าทาง กกพ. ยังคงติดตามต้นทุนค่าไฟฟ้าใกล้ชิด เพื่อดูแลไม่ให้ค่าไฟฟ้ามีผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชนตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี โดยมีความเป็นไปได้ที่จะดูแลค่าไฟอีก 2 งวดที่เหลือของปี 2563 (งวด พ.ค-ส.ค.63 และงวด ก.ย.-ธ.ค.63) ให้คงอัตราปัจจุบัน เนื่องจากยังมีวงเงินที่ได้จากการลงทุนไม่เป็นไปตามแผนของ 3 การไฟฟ้าเหลืออยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ที่จะนำมาดูแลค่าไฟฟ้าให้กับภาคประชาชนได้ ส่วนความคืบหน้าการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดคาดว่าจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ และประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.2564 เป็นต้นไป
        สำหรับการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่นั้นจะคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้า เช่น ผู้ผลิตเองใช้เอง (Prosumer) ที่แม้ว่าปัจจุบันจะมีปริมาณไม่มากแต่ในอนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น
สื่อหนังสือพิมพ์ : กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน 360 องศา, ไทยโพสต์, แนวหน้า, เดลินิวส์

วันพฤหัสบดี, 20 กุมภาพันธ์ 2563 10:39

สรุปข่าวพลังงาน 20 ก.พ. 2563

ข่าว : Gas Plan 2018 ฟันธงใช้ก๊าซฯ โตปีละ 0.7% หวั่นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเกินจำเป็น
        ในที่สุดแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan 2018) ที่กำหนดทิศทางการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้ สอดรับความต้องการใช้ก๊าซฯ ตั้งแต่ปี 2561-2580 และแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) คาดว่ามีผลใช้ภายในปี 2563 หลังจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)ก ระทรวงพลังงาน ได้จัดเวทีรับฟังต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2562 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมสัมมนา ก่อนที่จะนำเสนอแผน TIEB ฉบับใหม่เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อเห็นชอบในเดือน มี.ค.นี้
สื่อหนังสือพิมพ์ : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา

วันพุธ, 19 กุมภาพันธ์ 2563 10:43

สรุปข่าวพลังงาน 19 ก.พ. 2563

ข่าว : สนพ. ขับเคลื่อนแผนพลังงาน เร่งเดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชน
        สนพ.เปิดเวที เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศฉบับใหม่ พร้อมผลักดันโรงไฟฟ้าชุมชน คาดเสนอเข้าที่ประชุม กบง. และ กพช. เพื่อให้ความเห็นชอบภายในเดือน มี.ค.นี้
        นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ความคืบหน้าแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ฉบับใหม่ พ.ศ. 2561-2580 ล่าสุดทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงแก้ไขแผน TIEB โดยภาพรวมการขับเคลื่อน TIEB ฉบับใหม่ จำนวน 4 แผน จาก 5 แผนพลังงาน ได้แก่ แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP2018), แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับ (PDP2018) ปรับปรุงครั้งที่1, แผน TIEB, แผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ (EEP2018) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan2018)
        โดยสาระสำคัญของแผน TIEB ฉบับใหม่ ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบัน และมีความสอดคล้องกันแบ่งเป็นแผน AEDP2018 ได้ปรับเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในภาคการผลิตไฟฟ้าและความร้อน ให้สอดคล้องกับแผน PDP2018 ปรับปรุงครั้งที่ 1 เพื่อสนับสนุนนโยบาย Energy For All ในการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยในปี 2563–2567 จะมีพลังงานชีวมวล, ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย), ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) และ Solar hybrid กำลังผลิตรวม 1,933 เมกะวัตต์ พร้อมทั้งปรับลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามทิศทางการใช้พลังงานในอนาคต เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นส่งผลให้การใช้น้ำมันลดลง และการสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ ยังรักษาระดับเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายไม่น้อยกว่า 30% ในปี 2580
        สำหรับแผน PDP2018 ปรับปรุงครั้งที่ 1 ได้มีการปรับเป้าหมายคือ การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ใหม่) ในบางประเภทเชื้อเพลิง โดยยังคงเป้าหมายรวมไว้เท่าเดิมที่ 18,696 เมกะวัตต์ ปรับลดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลง และปรับเพิ่มเป้าหมายโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของ กฟผ. 69 เมกะวัตต์ ปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) รวมทั้งการเพิ่มนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (ชีวมวล), ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย), ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) และ Solar hybrid เข้าระบบตั้งแต่ปี 2563–2567 มีกำลังผลิตรวม 1,933 เมกกะวัตต์ รวมทั้งชะลอโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐภาคใต้ ปีละ 60 เมกะวัตต์ จากปี 2564– 2565 ไปเป็นปี 2565–2566 และเร่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม จากเดิมปี 2577 มาเป็นปี 2565 และสมมติฐานการรับซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (ที่ไม่ใช่โรงไฟฟ้าชุมชน) ภายหลังปี 2567 จะใช้ตามสมมติฐานเดิมในแผน PDP2018
        ส่วนแผน EEP2018 โดยตั้งเป้าการลด (Energy Intensity: EI) ลง 30% ภายในปี 2580 เมื่อเทียบกับปี 2553 มีเป้าหมายลดพีก 4,000 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์/5 กลุ่มเป้าหมาย มุ่งเน้นมาตรการเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการอนุรักษ์พลังงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้พลังงาน (Disruptive Technology) มีมาตรการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้พลังงานทุกสาขาเศรษฐกิจ และสร้างการมีส่วนร่วมของการอนุรักษ์พลังงานในทุกภาคส่วน
        นอกจากนี้แผน Gas Plan2018 มีความสอดคล้องกับ PDP2018 Rev.1 โดยพบว่าความต้องการใช้ก๊าซในภาพรวมในปี 2580 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7% ต่อปี หรืออยู่ที่ 5,348 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มีแนวโน้มการใช้ในภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในโรงแยกก๊าซและภาคขนส่งลดลง ด้านการจัดหาก๊าซฯ สำหรับโรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้าใหม่ตามแผน PDP2018 มีความจำเป็นต้องจัดหา LNG Terminal ในภาคใต้ (5 ล้านตันต่อปี) ในปี 2570 และการจัดหาก๊าซธรรมชาติผ่านโครงข่ายท่อบนบกจะเพียงพอกับความต้องการใช้ถึงปี 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ต้องมีการจัดหา LNG เพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการใช้ก๊าซฯ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสมต่อไป
สื่อหนังสือพิมพ์ : ข่าวหุ้น, ผู้จัดการรายวัน 360 องศา

วันอังคาร, 18 กุมภาพันธ์ 2563 10:02

สรุปข่าวพลังงาน 18 ก.พ. 2563

ข่าว : เปิดรับ 'ควิกวิน' มี.ค.นี้ คาดลงทุนกว่า หมื่น ล.
        นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะคณะกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารฯ ว่าร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนกรณีควิกวินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะส่งให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) พิจารณาก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ภายในต้นเดือน มี.ค. นี้ เพื่อเปิดให้ยื่นโครงการภายในเดือน มี.ค. เช่นกัน และผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (ซีโอดี) ภายในปี 63 โดยเชื่อว่าจะมีผู้สนใจลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์ กำลังผลิตโรงละไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท
        นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบแนวทางกำหนดให้เกิดโรงไฟฟ้าชุมชนต้นแบบ 4 แห่ง เป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวภาพที่ทับสะแก 1 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล ที่แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ขนาด 1 เมกะวัตต์ เป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เชื้อเพลิงชีวมวลผสมหลายชนิด ที่บันนังสตา จ.ยะลา และที่แม่ลาน จ.ปัตตานี.
สื่อหนังสือพิมพ์ : เดลินิวส์

วันจันทร์, 17 กุมภาพันธ์ 2563 11:02

สรุปข่าวพลังงาน 15-17 ก.พ. 2563

ข่าว : “สนพ.” พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น 5 แผนพลังงานสัปดาห์หน้า
        ขณะที่ ความคืบหน้า 5 แผนพลังงาน โดยจะมีการจัดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นพร้อมกันกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2018) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 แผนพัฒนาพลังงานทดแทน (AEDP) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) ในวันที่ 18 ก.พ.นี้ ยกเว้นแผนบริหารจัดการน้ำมัน (Oil Plan) ที่ยังจัดทำไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากมีการปรับตัวเลขหลังประกาศนโยบายให้น้ำมันไบโอดีเซล บี 10 และแก๊สโซฮอล์ อี 20 เป็นน้ำมันพื้นฐานของประเทศ
        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนพลังงานหลักจะมีการกำหนดอัตรากำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนเพิ่มขึ้น โดยตลอดแผน 20 ปี จะอยู่ที่ 1,900 เมกะวัตต์ เทียบกับแผนระยะที่ 1 ปริมาณ 700 เมกะวัตต์ จะช่วยสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน แต่ก็ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าแพงขึ้นประมาณ 10 สตางค์ต่อหน่วย เทียบกับแผนเดิมต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 3.59 บาทต่อหน่วย โดยสัดส่วนของเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าจะใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิงเป็นหลัก เพิ่มจากพีดีพี 2015 จากก๊าซฯ มีสัดส่วน 37% เป็น 53% ซึ่งความต้องการก๊าซฯ ของประเทศปลายปี 2580 จะอยู่ที่ประมาณ 5,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มจากปี 2561 ที่อยู่ที่ 4,700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากการที่ก๊าซฯ เมียนมาและอ่าวไทยลดลง แต่มีการประมูลแหล่งบงกชและเอราวัณเสร็จสิ้น ทำให้กำลังผลิตก๊าซฯ จาก 2 แหล่งรวมอยู่ที่ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากแผนพีดีพี 2015 ทำให้คาดว่าการนำเข้า LNG จะลดลงจาก 34 ล้านตันต่อปี เหลือ 26 ล้านตันต่อปี โดยปริมาณนำเข้าอาจลดลงอีก หากไทยมีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาสำเร็จ เพื่อร่วมมือในการผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน
สื่อหนังสือพิมพ์ : ข่าวหุ้น

เริ่มต้นก่อนหน้า12345678910ต่อไปสุดท้าย
หน้าที่ 1 จาก 131
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364 Email This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บนี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดบน Internet Explorer 11 Chrome และ Firefox ทุกเวอร์ชั่น

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์