• Thailand (TH) language switcher
  • English (UK) language switcher

White Style normal-style white-yellow

decrease-font normal-font increase-font

Calendar  Youtube Youtube Facebook    
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
    • โครงสร้างองค์กร
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • ติดต่อเรา
    • ผังเว็บไซต์
    • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
      • วิสัยทัศน์และนโยบายต่างๆ
      • การบริหารงานด้าน ICT
      • ข่าวสารจากซีไอโอ
      • ปฏิทินกิจกรรมซีไอโอ
  • นโยบายและแผน
    • คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
    • นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
    • ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
    • แผนแม่บทพลังงาน
    • แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)
      • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
      • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
      • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
      • แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)
    • ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
    • การติดตามและประเมินผล
      • รายงานผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านพลังงานของประเทศไทย
      • รายงานความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติราชการ
      • รายงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
      • การดำเนินงานด้านพลังงานของ สนพ.
      • โครงการภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • การดำเนินงานตามมติ กพช.
    • ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • สหประชาชาติ
        • กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (UNFCCC)
        • การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP)
        • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
          • Joint Implementation (JI)
          • Emission Trading (ET)
          • Clean Development Mechanism (CDM)
          • Paris Agreement Adopted
        • Bali Action Plan
          • Bali Action Plan
          • AWG-LCA
          • NAMAS
          • Sectoral Approach : SA
          • MRV
          • AWG-KP
        • Concun Agreement
      • ประเทศไทย
        • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2550
        • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
        • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
        • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
        • แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564
        • ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2551-2555
      • กระทรวงพลังงาน
        • คณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ
        • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
        • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
        • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
      • อภิธานศัพท์
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • พระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
    • คำสั่งนายกรัฐมนตรี
    • กฏกระทรวง
    • มติ ครม.ด้านพลังงาน
    • คำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้อง กับ สนพ.
    • ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    • การจัดทำสรุปสาระสำคัญและคำแปลกฎหมาย
  • คณะกรรมการ/อนุกรรมการ
    • คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
      • มติ
      • คำสั่ง
      • ประกาศ
    • คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.)
    • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการ
    • คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กทอ.)
      • คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณกองทุนฯ
      • คณะอนุกรรมการประเมินผลโครงการภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      • มติคณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    • คณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
    • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.)
  • บริการข้อมูลข่าวสาร
    • สถานการณ์พลังงาน
    • วารสารนโยบายพลังงาน
    • รายงานประจำปี
    • รายงานสถิติพลังงานประจำปี
    • รายงานผลการศีกษานโยบายพลังงาน
    • จดหมายข่าวอนุรักษ์พลังงาน
    • เอกสารเผยแพร่ / หนังสือ / สาระน่ารู้
      • เอกสารเผยแพร่
      • หนังสือ
      • สาระน่ารู้
    • ข่าว สนพ.
    • ข่าวพลังงาน
    • ประชาสัมพันธ์
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศรับสมัครงาน
    • ห้องสมุด สนพ.
    • INFOGRAPHIC
    • FAQ
    • บริการประชาชน
  • การกำกับดูแลองค์กร
    • การพัฒนาระบบบริหาร
      • นโยบายการกำกับองค์กรที่ดี
      • กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ
      • คำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI)
      • การควบคุมภายใน
      • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
      • มาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน
      • แผนปฏิรูปองค์การ
      • ITA
    • การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
    • แผนบริหารความต่อเนื่อง
    • แผนแม่บท ICT สนพ.
    • ศูนย์ประสานราชการใสสะอาด
    • ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาค ระหว่างหญิงชาย
    • ศูนย์บริการร่วม
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
    • สรุปผลการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง
      • งบประมาณ
      • กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
Subscribe to this RSS feed
Bali Action Plan

Bali Action Plan (6)

วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:07 Written by Super User

AWG-KP

AWG-KP

จากการทบทวน AWG-KP ครั้งล่าสุด และจากการศึกษาแนวโน้มการเจรจาที่อาจจะมีผลต่อการดำเนินงาน CDM ภายหลังปี ค.ศ. 2012 ได้มีการอภิปรายหาข้อตกลงร่วมกัน เช่น ความโปร่ใสและความเป็นกลางของ CDM EB แผนการให้เงินกู้เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการ CDM ในประเทศที่มีโครงการได้รับการขึ้นทะเบียนน้อยกว่า 10 โครงการ การพิจารณาโครงการ CCS เป็นโครงการ CDM และการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

  • การเรียกร้องให้ CDM EB ที่ผ่านมาปรับปรุงกฎระเบียบการพิสูจน์ Additionality ให้ง่ายขึ้นสำหรับโครงการขนาดเล็ก เช่น โครงการพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีกำลังการผลิตน้อยกว่า 5 MW และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานได้ไม่เกิน 20 GWh/yr และสำรวจทางเลือกอื่นๆ ในการพิสูจน์และประเมิน Additionallyการเห็นชอบให้ประเทศต่างๆ ผู้พัฒนาโครงการหรือองค์กรระหว่างประเทศโดยผ่านทาง DNA ของประเทศเจ้าบ้านสามารถยื่นข้อเสนอสำหรับการใช้ Standardized baselines กับ methodology แบบใหม่หรือที่ยังคงมีอยู่เพื่อให้ EB พิจารณาการมีมติเห็นชอบให้โครงการ CCS สามารถดำเนินเป็นโครงการ CDM ได้จากการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (พฤศจิกายน พ.ศ. 2553) ได้มีการสรุปการศึกษาจากมติการประชุมของ COP 15พบว่าแนวทางของมาตรการใหม่จากระบอบระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มที่จะมีผลต่อรูปแบบการดำเนินงานของ CDM จะเป็นไปในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า กลไกที่ยืดหยุ่น (Flexible Mechanism) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรูปแบบที่มีอยู่เดิมที่ถูกนำเสนอโดยกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ I เพื่อใช้หลัง ค.ศ. 2012 ซึ่งจะมีผลต่อแนวทางการดำเนินโครงการ CDM ดังนี้
  • Sectoral CDM เป็นการดำเนินการของสาขาการผลิตใดๆ ร่วมกันดำเนินโครงการ CDM ที่มีการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกันทั้งสาขา (ปริมาณ CERs ที่ได้รับการรับรองก็จะเป็นของทั้งสาขาและมีการจัดสรรให้แก่ผู้ผลิตในสาขานั้นทุกรายที่เข้าร่วมโครงการ) ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดเส้นฐานอ้างอิงระดับสาขา (Sectoral Baseline) Sectoral Crediting Mechanism เป็นการดำเนินการของสาขาการผลิตใดๆ ที่ร่วมกันดำเนินโครงการ CDM ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดเส้นฐานอ้างอิงระดับสาขาร่วมกัน และมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับสาขาร่วมกัน แต่หากโครงการ CDM ไม่สามารถดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ก็จะไม่สามารถขายปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ (sectoral credits)

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 10:01 Written by Super User

MRV (Measurable, Reportable and Verifiable)

 

          MRV ย่อมาจาก Measurable, Reportable and Verifiable หมายถึงการวัดผลได้ การรายงานผล และการตรวจสอบพิสูจน์ผลได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่กำหนดค่า (Parameter) ที่จำเป็นในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ที่จะต้องใช้เป็นแนวทางในการวัดและพิสูจน์ผล ซึ่งได้ปรากฎในย่อหน้าย่อยที่ (i), (ii) ของย่อหน้า 1(b) ในแผนปฏิบัติการบาหลี (Bali action plan)การลดก๊าซเรือนกระจกตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) ในกรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ (Internationally supported mitigation actions) ต้องมีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV domestically) และควรจะต้องมีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบตามแนวทางระหว่างประเทศที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ  และในกรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศ (Domestically supported mitigation actions) ต้องมีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV domestically) ตามแนวทางที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:59 Written by Super User

Sectoral Approach: SA

 

          Sectoral Approach: SAตั้งแต่อนุสัญญาฯ ถูกรับรองขึ้นและประกาศพิธีสารเกียวโต   มาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมุ่งเน้นการจัดการในรูปแบบ Country-specific Quantitative Approach คือการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แต่ละประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศจะไปกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละสาขาการผลิตเอง ในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งถูกจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคการผลิตใดที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าระดับเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถนำเอา Carbon Credit ไปซื้อขายในตลาดการค้าคาร์บอนได้แต่แนวคิดหนึ่งของการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกใหม่หลังหมดพันธกรณีแรกของพิธีสารเกียวโต โดยมีแนวคิดการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการพิจารณาแยกตามรายสาขาการผลิตหรือบริการต่างๆ ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าสาขาทั่วไป เช่นสาขาโรงงานเหล็ก โรงงานปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน หรืออุตสาหกรรมด้านพลังงาน เป็นต้น โดยใน COP 16 นั้น ไม่ได้มีวาระและการเจรจาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในส่วนนี้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นที่ปรึกษาจะสรุปรายละเอียดตามการเจรจาล่าสุดของ AWG-LCA 10 ดังนี้

          แนวทาง Cooperative Sectoral และข้อปฎิบัติที่เฉพาะเจาะจงตามรายสาขาควร (should) สอดคล้องกับข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและหลักการที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ [โดยเฉพาะหลักการรับผิดชอบร่วมกันแต่แตกต่างกัน] [และอาจจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศภาคีที่จะสำรวจแนวทาง (Measures) และข้อปฎิบัติ (Actions) เหล่านี้ต่อไป] [ที่ซึ่งการจำกัดการปล่อยก๊าซฯ และการลดการปล่อยก๊าซฯ ที่ไม่ได้ถูกควบคุมภายใต้พิธีสารมอนทรีออล อันเนื่องมาจากเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับการบิน (Aviation) และเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับการขนส่งโดยเรือ (Marine Bunker Fuels) ควร (should) ได้รับการดำเนินการต่อไปผ่านทาง International Civil Aviation Organization สำหรับการบิน และ the International Maritime Organization สำหรับภาคการขนส่งโดยเรือ [โดยคำนึงถึงหลักการและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในอนุสัญญาฯ] [ในอัตราการลดที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวในระดับโลก ที่ระบุไว้ในหัวข้อวิสัยทัศน์ระยะยาวร่วมกัน ที่กล่าวไว้ในข้างต้นของร่างเอกสารการเจรจาฉบับนี้] ประเทศภาคีต้อง (shall) สืบสานแนวทางรายสาขา และข้อปฎิบัติที่เฉพาะเจาะจงตามรายสาขา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามที่ระบุไว้ในมาตราที่ 4.1 (c) ของอนุสัญญาฯในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาการผลิตภาคเกษตรกรรมดังที่ระบุไว้ในเอกสาร FCCC/AWG-LCA/2010/6 โดยสาระสำคัญที่ระบุไว้ในเอกสารที่กล่าวถึงคือ การดำเนินการตามแนวทาง Cooperative Sectoral และข้อปฎิบัติที่เฉพาะเจาะจงตามรายสาขาในภาคเกษตรกรรม ควรพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ความเชื่อมโยงระหว่างการปรับตัวและการลด กับความจำเป็นในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางอาหารจาการใช้แนวทางและข้อปฎิบัติเหล่านั้น โดยทุกประเทศภาคีได้ตัดสินใจบนหลักการความรับผิดชอบร่วมกันแต่แตกต่างกัน ที่ควร (should) ร่วมมือกันในด้านการค้นคว้าวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี, วิธีปฎิบัติ (Practices) และกระบวนการ (Process) ที่ควบคุม ลด และป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การเพิ่มประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตในภาคเกษตรกรรมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ซึ่งสามารถสนับสนุนการปรับตัวต่อความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารด้วยเช่นกันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายสาขาการผลิตเป็นกรอบแนวคิดมากกว่าแนวทางนโยบายใดแนวทางนโยบายหนึ่ง   ตั้งแต่อนุสัญญาฯ ถูกจัดตั้งขึ้น และประกาศใช้พิธีสารเกียวโต แนวทางนโยบายบรรเทาภาวะโลกร้อนมุ่งเป้าไปที่แนวทางองค์รวมของแต่ละประเทศ (comprehensive approach) ทางอนุสัญญาฯ ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แต่ละประเทศ แล้วรัฐบาลประเทศเหล่านั้นกระจายความรับผิดชอบไปให้แต่ละสาขาการผลิตภายในประเทศตัวเอง กรณีนี้มีชื่อเรียกคือ Country-specific Quantitative Approach ซึ่งก็ถือเป็น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายสาขาการผลิตรูปแบบหนึ่ง (รศ. ดร. นิรมล สุธรรมกิจ, 2553) แนวทางที่น่าสนใจอีกแนวทางหนึ่งคือ Transnational Quantitative Sectoral Approach เป็นความร่วมมือกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับนานาชาติ โดยการกำหนดระดับการปล่อยของแต่ละสาขาการผลิต คุณประโยชน์หลักๆ ของแนวทางฯ ในแต่ละสาขาการผลิตแบบนี้คือผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ได้ถูกผูกมัดตามพิธีสารเกียวโตก็สามารถมีส่วนร่วมได้การเจรจาสามารถทำได้โดยง่าย เนื่องจากแต่ละผู้เจรจาล้วนแล้วแต่เป็นผู้ประกอบการในสาขาเดียวกันช่วยลดปัญหาช่องว่างของการแข่งขันอันเกิดจากนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ไม่สมมาตรระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา อันจะนำไปสู่การรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage)อย่างไรก็ดี คุณสมบัติของสาขาการผลิตที่เหมาะสมกับนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรูปแบบนี้ควรจะต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลและมีศักยภาพที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:58 Written by Super User

Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs

          Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs เป็นแนวคิดหนึ่งของการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกใหม่หลังหมดพันธกรณีแรก (วาระแรก) ของพิธีสารเกียวโต โดยจะเน้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะอาศัยหลักการเดิม คือ ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วจะรับผิดชอบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน แต่ด้วยความรับผิดชอบที่แตกต่างกันตามศักยภาพ รวมทั้งการดำเนินการในมาตรการ NAMAs จะต้องเป็นไปโดยสมัครใจผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้ว ในปัจจุบัน แนวคิด NAMAs นี้ยังถือว่าอยู่ในระหว่างการตกลงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอยู่ และยังไม่มีแนวทางที่เป็นมติเอกฉันท์ใดๆ โดยสามารถสรุปรายละเอียดหลักตามการเจรจาล่าสุดของ AWG-LCA 13 ดังแสดงใน (Draft decision -/CP16) ดังนี้ตกลงว่า (agree) ประเทศกำลังพัฒนาจะดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก (NAMAs) ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้บรรลุการลดก๊าซเรือนกระจกลงจากการปล่อยตามปกติ ภายในปี ค.ศ. 2020รับทราบ (take note) ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะดำเนินการโดยประเทศกำลังพัฒนา ตามที่ได้สื่อสาร และระบุในเอกสาร FCCC/AWGLCA/2010/INF.Yเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 4 วรรค 3 ของอนุสัญญาฯ ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี และเสริมศักยภาพต่อประเทศกำลังพัฒนา สำหรับการเตรียมการและดำเนินการ NAMAs รวมทั้งยกระดับด้านการรายงานผลให้จัดตั้งระบบลงทะเบียน (Registry) เพื่อบันทึกกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกที่ต้องการขอรับการสนับสนุนระหว่างประเทศ และช่วยจัดคู่การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมศักยภาพ ต่อกจิกรรมลดก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว และให้สำนักเลขาธิการฯเป็นผู้บันทึกข้อมูลกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและการสนับสนุน ลงในส่วนของการลงทะเบียนต่อไปเรียกร้อง (Request) ให้เลขาธิการฯ ทำการบันทึกและปรับปรุงข้อมูลที่ได้จากประเทศสมาชิกในระบบลงทะเบียน ดังนี้

          NAMAs ที่กำลังหาการสนับสนุนการสนับสนุนจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีให้แก่การดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการสนับสนุนที่มีให้แก่ NAMAs กรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ (Internationally supported mitigation actions) ให้มีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV domestically) และควรจะต้องมีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบตามแนวทางระหว่างประเทศที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ กรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศ (Domestically supported mitigation actions) ให้มีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV Domestically) ตามแนวทางที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ ให้จัดตั้ง Work Program เพื่อพัฒนา Modalities and Guidelines ต่างๆ ได้แก่การช่วยเหลือด้านการสนับสนุนต่อ NAMAs ผ่านระบบ Registry MRV ของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน และการสนับสนุนที่ให้รายงานราย 2 ปี ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานแห่งชาติของประเทศกำลังพัฒนา Domestic Verification ของ Domestic NAMAs กระบวนการ International Consultation and Analysis เนื่องจากคำว่า NAMAs เป็นคำที่ถกเถียงกันมากในแง่ของความหมายและการใช้เพื่อแสดงความหมายในเวทีเจรจาโลก ที่ปรึกษาจะขออ้างอิงความหมายและการจำแนกประเภทของ NAMAs ทั้งจากการทบทวนเอกสารของ UNFCCC และตามการศึกษาของ Zhakata (2009) และ สกว. (พ.ศ. 2553) ที่ได้จัดแบ่ง NAMAs ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

          1. Domestically supported mitigation actions หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศ
          2. Internationally supported mitigation actions หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ
          3. NAMA Crediting Mechanism หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศสามารถนำเอาคาร์บอนเครดิตที่ได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          จากการทบทวนมาตรการ NAMAs ตามเอกสารเจรจาที่มีอยู่ในการประชุมล่าสุด พบว่า ถึงแม้ว่าแนวทางการดำเนินการของ NAMAs ยังไม่ชัดเจน เนื่องจาก ยังไม่มีการตกลงกันอย่างแน่ชัดในที่ประชุมของ AWG-LCA โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับแนวทาง Crediting Mechanism แต่มาตรการนี้ก็อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงอย่างจริงจังเพื่อให้เป็นมาตรการที่สามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขของ Domestically supported mitigation actions และ Internationally supported mitigation actions เพื่อให้ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันทั้งเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการได้รับการสนับสนุนการพัฒนาทางเทคโนโลยีควบคู่กันต่อไปในอนาคต

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:57 Written by Super User

AWG-LCA

        ภายหลังปี ค.ศ. 2012 ที่พิธีสารเกียวโตสิ้นสุดพันธกรณีแรก ประเทศไทยอาจจะถูกจัดกลุ่มใหม่ หรืออาจได้รับข้อกำหนดเพื่อรับผิดชอบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น โดยนโยบายว่าด้วยความร่วมมือระยะยาวภายใต้อนุสัญญาฯ ภายหลังปี ค.ศ. 2012 ที่มีแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบกับภาคพลังงานของประเทศไทย

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด 

Published in Bali Action Plan
Read more...
วันอาทิตย์, 21 กุมภาพันธ์ 2559 09:57 Written by Super User

Bali Action Plan

          COP 13(3-15 December, 2008) การประชุมครั้งที่ 13 หรือ COP 13 ถูกจัดขึ้นในวันที่ 3-15 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยในการประชุมครั้งนี้ประเทศภาคีสมาชิกได้ร่วมกันร่าง Bali Road Map ซึ่งเป็นมติให้จัดทำกระบวนการที่จะเร่งรัดให้สามารถดำเนินการภายใต้อนุสัญญาฯ อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของ common but differentiated responsibilities and respective capabilities และเรียกร้องให้แต่ละประเทศกำลังพัฒนามีการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการที่เหมาะสม (National Appropriate Mitigation Actions - NAMAs) และสมัครใจ โดยกิจกรรมเหล่านั้นจะต้องสนับสนุนต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ รวมถึงส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี  ส่งเสริมศักยภาพของคนในประเทศ และ สามารถตรวจวัด รายงาน และตรวจสอบได้

ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด

 

Published in Bali Action Plan
Read more...
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
กระทรวงพลังงาน
121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร 0 2612 1555, โทรสาร 0 2612 1364
จากต่างประเทศ โทร +66 2612 1555, โทรสาร +66 2612 1364
Official Website : www.eppo.go.th

การปฎิเสธความรับผิดชอบ | นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์