B
---------------------------------------------------------------------------------
B
---------------------------------------------------------------------------------
  B2

น้ำมัน ดีเซลหมุนเร็ว B2 ซึ่งเป็นการนำไบโอดีเซล B100 มาผสมกับน้ำมันดีเซลเกรดที่ใช้กันในปัจจุบันในสัดส่วนร้อยละ 2 ซึ่งเป็นไปตามประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยกำหนดจำหน่ายในวันที่ 1 เมษายน 2551

ที่มา:วารสารแผนอนุรักษ์พลังงานปี 2551-2554

 
   
  B5

น้ำมัน ดีเซลหมุนเร็ว B5 ซึ่งเป็นการนำไบโอดีเซล B100 มาผสมกับน้ำมันดีเซลเกรดที่ใช้กันในปัจจุบันในสัดส่วนร้อยละ 5 สามารถนำมาใช้งานในเครื่องยนต์ดีเซลได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์

ที่มา:วารสารแผนอนุรักษ์พลังงานปี 2551-2554

 
  Barrel

บาร์เรล หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตรนํ้ามันปิโตรเลียม 1 บาร์เรล = 36 แกลลอนในประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา 1 บาร์เรล = 42 แกลลอน และในไทย 1 บาร์เรล = 153 ลิตร

ที่มา:www.eppo.go.th

 
   
  Benzene

เบนซีน : 
ของ เหลวไม่มีสีและไวไฟ ผลิตจากโพรพิลีน ใช้เป็นวัตถุดิบใน การผลิตแอคริเลตต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เมทิลแอคริเลต เอ-ทิลแอคริเลต บิวทิลแอคริเลต และ 2-เอทิลเฮกซิลแอคริเลต ทั้งแอคริลิกแอซิด และแอคริเลตต่างๆ สามารถทำปฏิกิริยา รวมตัวกันเป็นพอลิเมอร์และโคพอลิเมอร์ได้ง่าย จึงต้องเติม สารเคมีบางชนิดเพื่อป้องกันการเกิดพอลิเมอร์ระหว่างการเก็บ และการขนส่ง ไม่มีการใช้ประโยชน์จากแอคริลิกแอซิดโดยตรง

ที่มา:หนังสือเราไม่ง้อน้ำมัน

 
  Benzine

น้ำมัน เบนซิน (แก๊สโซริน)น้ำมันชนิดหนึ่งทีได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยมีช่วงจุด เดือดอยู่ระหว่าง 30-2000C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ 4 -11 อะตอมผสมรวมกันมีคุณสมบัติเหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบนซิน มี 3 ชนิดด้วยกันคือ ออกเทน 87 สีเขียว ออกเทน 91 สีแดง ออกเทน 95 สีเหลือง ปัจจุบันน้ำมันเบนซินทุกชนิดในไทยเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่วทั้งหมด สาเหตุที่มีการเรียกชื่อตามค่าออกเทนและมีสีต่างกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเลื่อกใช้น้ำมันให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานของเครื่อง ยนต์

ที่มา:www.energy.co.th

 
   
  Bi-Fuel System

ระบบเชื้อเพลิงทวิ ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ใช้สามารถกดปุ่มเลือกใช้น้ำมันเบนซินหรือก๊าซ NGV ก็ได้

ที่มา:วารสารนโยบายพลังงาน (NGV ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้รถ)ฉบับที่ 72 เมษายน-มิถุนายน 2549

 
  Binding energy

พลังงาน ยึดเหนี่ยว การรวมตัวของโปรตอนและนิวตรอนเป็นนิวเคลียส จะปล่อยพลังงานออกมา เรียกพลังงานนี้ว่า พลังงานยึดเหนี่ยว พลังงานยึดเหนี่ยวนี้เทียบเท่ากับมวลพร่องมวลพร่อง = มวลโปรตอน + มวลนิวตรอน -มวลนิวเคลียสตัวอย่าง โปรตอน1 ตัวรวมกับนิวตรอน 1 ตัวเป็นดิวเทอรอน

ที่มา:http://escivocab.ipst.ac.th/readdoc.asp?no=1776

 
   
  Bio-Degradable Plastic

ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้

ที่มา:เอกสารพลังงานทดแทน สำนักงานนบายและแผนพลังงาน

 
  Biodiesel

น้ำมันดีเซลที่ผลิตจากวัสดุทางชีวภาพ โดยนำพืชน้ำมันและน้ำมันประกอบอาหารที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทางเคมี

ที่มา:คู่มือผลผลิตทางธรรมชาติสู่กระบวนการผลิตไบโอดีเซล สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

 
   
  Biodiesel(B5)

น้ำมัน เชื้อเพลิง หรือน้ำมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหารมาทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแอลกอฮอล์ เรียกอีกอย่างว่าสารเอสเตอร์ (Methyl Ester) มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก และในกระบวนการผลิตยังได้ กลีเซอรอล เป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมและเครื่องสำอางอีกด้วย

ที่มา:www.energy.go.th

 
  Biogas

ก๊าซชีวภาพ

ที่มา:คู่มือผลผลิตทางธรรมชาติสู่กระบวนการผลิตไบโอดีเซล สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

 
   
  Biomass

ชีวมวล : 
คำเรียกสำหรับมวลสารที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิตทั้งพืชและสัตว์

ที่มา:หนังสือเราไม่ง้อน้ำมัน

 
  Biomass fuel

เชื้อ เพลิงชีวมวล ประกอบด้วยวัสดุจากสิ่งมีชีวิต (ฟืน ต้นธัญพืช มูลสัตว์ และใบไม้ร่วง) หรือแก๊สมีเทน (Methane) ทำได้จากการย่อยสลายวัสดุชีวภาพ

ที่มา:หนังสือ Sustainable world

 
   
  Bio-Oil

น้ำมันชีวมวล : 
เป็น น้ำมันที่มีองค์ประกอบซ้ำซ้อนประกอบด้วยสารประกอบ อินทรีย์ที่มีออกซิเจน (Oxygenated Hydrocarbons) และน้ำ เป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 15-50 โดยน้ำหนัก น้ำมันชีว-มวลที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก มีค่าความร้อน 17 เมกกะจูลต่อกิโลกรัม หรือประมาณร้อยละ 40 ของ ค่าความร้อนของน้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซล

ที่มา:หนังสือเราไม่ง้อน้ำมัน

 
  Bituminous

ถ่านหินเนื้อแน่นแข็ง เผาแล้วให้ควันน้อย แต่ได้ความร้อนสูง (ระดับ 4)

ที่มา:คู่มือถ่านหินเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

 
   
  Bond energy

พลังงานพันธะ พลังงานที่ใช้สลายพันธะซึ่งยึดเหนี่ยวอะตอมคู่หนึ่งในโมเลกุลไว้ด้วยกัน เมื่อโมเลกุลนั้นอยู่ในสถานะแก๊ส

ที่มา: http://escivocab.ipst.ac.th/readdoc.asp?no=1292